สิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬา : มุมมองของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

ผู้แต่ง

  • ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สิทธิในภาพลักษณ์, นักกีฬาอาชีพ, การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

บทคัดย่อ

     การแสดงออกของนักกีฬาอาชีพในระหว่างการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมกีฬาอื่น ๆ  ในที่สาธารณะ ย่อมสร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวของนักกีฬาอาชีพที่ในธุรกิจกีฬา สิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาถือเป็นสิทธิในภาพลักษณ์ของนักกีฬาอาชีพที่เป็นเจ้าของสิทธิซึ่งสามารถอาศัยภาพลักษณ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในวงการกีฬาหรือลักษณะเฉพาะของตัวนักกีฬาอาชีพมาใช้แสวงหาประโยชน์ ทางการค้าในหลากหลายรูปแบบ การกระทำจากบุคคลอื่นซึ่งไม่มีสิทธิแสวงหาประโยชน์จากภาพลักษณ์ดังกล่าวนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมุ่งประสงค์จะปกป้องคุ้มครองเจ้าของสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาจากผู้การกระทำอย่างหนึ่ง อย่างใดโดยตรงแก่สิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาโดยไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งการกระทำเช่นว่านี้ย่อมส่งผลร้ายต่อการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณของเจ้าของสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬา การทำงานของทรัพย์สินทางปัญญาในขั้นต้นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญด้วยการวางกลไกปกป้องสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬา

     บทความฉบับนี้มุ่งเสนอมุมมองทางกฎหมายต่อการใช้และแสวงหาประโยชน์จากสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬา บทความฉบับนี้สะท้อนให้เห็นนัยยะการแสวงหาประโยชน์จากสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิ      ในภาพลักษณ์ทางกีฬาและข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬา บทความฉบับนี้ยังนำเสนอมุมมองทางกฎหมายต่อการแสวงหาประโยชน์จากสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาผ่านการ                 ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาและข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬา พร้อมกับนำเสนอบทบาทของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมายดังกล่าวเพื่อปรับใช้กับอุตสาหกรรมกีฬา ซึ่งนำไปสู่บทสรุปที่ว่าการกระทำใดจึงไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากสิทธิในภาพลักษณ์ทางกีฬาตามปกติของเจ้าของสิทธิ โดยไม่ได้รับอนุญาต

Downloads

Download data is not yet available.

References

Arai, A., Ko, Y. J. & Ross, S. (2014). “Branding athletes: Exploration and conceptualization of athlete brand image.” Sport Management Review. 17(2) : 97 – 106.

Balcarczyk, J. (2010). “Sports image rights – a comparative overview.” Zbornik Radova Pravnog Fakulteta u Splitu. 47(2) : 327 – 334.

Blackshaw, I. S., (2012). Sports Marketing Agreements : Legal, Fiscal and Practical Aspects. The Hague : T.M.C. Asser.

Blackshaw, I. S. (2023). “Understanding Sports Image Rights.” [Online]. Available : https://www.wipo.int/ipoutreach/en/ipday/2019/ understanding_ sports_image_rights.html Retrieved June 12, 2023.

Blackshaw, I. S., & Siekmann, R. C. R. (2005). Sports image rights in Europe. The Hague : T.M.C. Asser.

Boyd, S. (2011). “Image Rights Contracts : Morality Clauses.” Entertainment Law Review.” 22(5) : 133 – 135.

Boyes, S. (2015). “Legal protection of athletes’ image rights in the United Kingdom.” The International Sports Law Journal. 15(12) : 69 – 82.

Bryson, A., Rossi, G., & Simmons, R. (2014) “The migrant wage premium in professional football : A superstar effect?” Kyklos. 67(1) : 12 - 28.

Carrick, S. (2021). (2016). “COVID-19 and the taxation of professional athletes’ image rights.” The International Sports Law Journal. 21 : 15 – 26.

Casalino, F. (2022). “Call to the Bullpen: Saving High School Student Athlete Name, Image, and Likeness Rights.” Jeffrey S. Moorad Sports Law Journal. 29(2) : 263 – 298.

Coors, C. (2015). “Are Sports Image Rights Assets? A Legal, Economic and Tax Perspective.” The International Sports Law Journal. 15(1) : 64 – 68.

Fields, S. K. (2016). Game Faces: Sport Celebrity and the Laws of Reputation. Urbana, IL : University of Illinois Press.

Kharytonov, E., Kharytonova, O., Tkalych, M., Bolokan, I., Samilo, H., & Tolmachevska, Y. (2021). “Intellectual property law in the field of sports : specifics of manifestations and features of legal regulation.” Cuestiones políticas. 39(69) : 530 – 546.

Krzysztof, W. M. (2016). “Legal aspects of athletes’ image rights usage in the light of marketing activities.” Quality in Sport. 2(2) : 80 – 96.

Lush, G. (2015). “Reclaiming Student Athletes' Rights to Their Names, Images and Likenesses, Post O'Bannon v. NCAA: Analyzing NCAA Forms for Unconscionability.” Southern California Interdisciplinary Law Journal. 24(3) : 767 - 804.

Levinson, H. (1997). “Image as Everything"... But Not When It Comes to a Right of Publicity Infringement.” University of Miami Entertainment & Sports Law Review, 14 : 83 – 112.

Meyer, J. & Zimbalist, A. (2022). “A Win-Win: College Athletes Get Paid for Their Names, Images, and Likenesses and Colleges Maintain the Primacy of Academics. In Whither College Sports : Amateurism, Athlete Safety, and Academic Integrity.” The Journal of Sports and Entertainment Law. 11(2) : 247-303.

Negrin, K. (2001). “If You Build It, They "Might" Stay : Unconscionability in Modern Sports Stadium Leases.” Public Contract Law Journal. 30(3) : 503 - 524.

Ostashenko, M. & Galoyan, A. (2020). “Commercial Use of Sportspersons’ Image Rights.” Business Law International. 21(2) : 121 - 128.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)