การพัฒนาทักษะการผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ของสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ทักษะผลิตสื่อสร้างสรรค์, สังคมผู้สูงอายุ, สื่อบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ของสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้สูงอายุก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครผู้เข้าร่วมอบรมที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบก่อนอบรมและหลังอบรม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติเปรียบเปรียบเทียบ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างภาพรูปแบบอินโฟกราฟิกจำนวน 46 ภาพ และคลิปวิดีีโอจำนวน 46 คลิป ผลการทดสอบการเรียนรู้ของผู้สูงอายุก่อนอบรมและหลังอบรมของผู้เข้าอบรม พบว่า มีคะแนนก่อนอบรมเฉลี่ย เท่ากับ 11.91 และ มีคะแนนหลังอบรมเฉลี่ย เท่ากับ 13.71 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังอบรม พบว่า คะแนนสอบหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เข้าอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66
Downloads
References
กฤษณะ แสงจันทร์. (2562, มกราคม - มิถุนายน). “การพัฒนาทักษะการผลิตสื่อด้วยสมาร์ทโฟน ของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย.” วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15(1) : 81 - 110.
ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2565, กันยายน - ธันวาคม). “การสื่อสารการตลาดในยุค 4.0 เพื่อสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน กรณีศึกษากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบ ตำบลบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 17(3) : 64 - 70.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทีเอ็นเอ็นออนไลน์. (2565). “ผู้สูงอายุในญี่ปุ่น ทะลุ 36 ล้านคน อายุเกินร้อยพุ่ง 9 หมื่นคน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=_LOO_aEVj_U สืบค้น 12 ธันวาคม 2565.
พระสมุห์โชคดี วชิรปญฺโญ, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และ วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. (2564, พฤษภาคม - สิงหาคม). “รูปแบบการพัฒนาความสุขของผู้สูงอายุตามแนวพุทธจิตวิทยาในสังคมสมัยใหม่.” วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(2) : 41 - 53.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). “สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/Report-File-660.pdf สืบค้น 12 ธันวาคม 2565.
รุจา รอกเข็ม และ สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์. (2562, พฤษภาคม - สิงหาคม). “สังคมสูงวัย: เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 13(2) : 36 - 45.
สุวิช ถิระโคตร และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561, มกราคม - มีนาคม). “พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ.” วารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36(1) : 72 - 80.
หนังสือพิมพ์แนวหน้า. (2563). “ก้าวย่างของประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.naewna.com/likesara/525759 สืบค้น 12 ธันวาคม 2565.