การศึกษามรดกภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นเมือง สู่การสร้างสรรค์การแสดงชุด“ระบำทอผ้าไหมเมืองสุรินทร์” บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อัชราพร สุขทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัจฉรา สุทธิสนธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กฤติกา ธรรมวิเศษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ยุวดี พลศฺริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จำนงค์ จันทร์เขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุภาวดี หลวงกลาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุดใจ สะอาดยิ่ง สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, การทอผ้าไหมพื้นเมือง, การสร้างสรรค์การแสดง, ระบำทอผ้าไหม, เมืองสุรินทร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อสร้างสรรค์ท่ารำนาฏยประดิษฐ์ชุด “ระบำทอผ้าไหมเมืองสุรินทร์” จากกรรมวิธีการทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาพื้นที่กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มภูมิปัญญาช่างทอ ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้าน ช่วงอายุระหว่าง 50 - 75 ปี จำนวน 30 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยคัดเลือกจาก 1) ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน 2) ผู้นำชุมชนจำนวน 3 คน  3) ครูภูมิปัญญาช่างทอ 3 คน และ 4) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะการแสดงและดนตรีพื้นบ้านจำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่าย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองใน ชุด “ระบำทอผ้าไหมเมืองสุรินทร์” ผลการศึกษาพบว่า                   

     1. ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นับเป็นศาสตร์ความรู้ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานหลายช่วงอายุคน ช่างทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง ยังคงรักษามรดกภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นเมืองในด้านรูปแบบ สีสัน ลวดลาย และความประณีตงดงามในการทอไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นเทคนิคการทอแบบโบราณอันเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาช่างทอส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมร หรือ เรียกว่า “ชาวไทยเชื้อสายเขมร” เทคนิคการทอส่วนใหญ่เป็นการทอ “มัดหมี่” ช่างทอมีความสามารถในการทอด้วยเทคนิค ขิด ยก เกาะ วัตถุดิบใช้เส้นไหมบ้าน หรือ เส้นไหมน้อย ภาษาเขมรเรียก “โซกซัก” และไหมจุลที่หาซื้อจากร้านในเมืองสุรินทร์ ขั้นตอนการทอผ้าไหมพื้นเมือง มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน คือ 1) การฉลุกระดาษ ลายมัดหมี่ 2) การมัดหมี่ 3) การปั่นหลอด หรือ กรอหมี่ 4) การแก้หมี่ (การแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ออกให้หมด) 5) การสืบหูก 7) การทอ 8) การกระทบฟันหวี (ฟืม)                                   

     2. ผลการสร้างสรรค์การแสดงพบว่า นาฏยประดิษฐ์ชุด “ระบำทอผ้าไหมเมืองสุรินทร์” จากกรรมวิธีการทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นเมือง ภูมิปัญญาที่โดดเด่นของจังหวัดสุรินทร์ รูปแบบการแสดงมีเอกลักษณ์เฉพาะตามแบบฉบับการแสดงพื้นเมืองสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ความเป็นมาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ได้แก่ 1) ท่าเดิน 2) ท่าเก็บใบหม่อน 3) ท่าเลี้ยงไหม 4) ท่าสาวไหม ช่วงที่ 2 กรรมวิธีการทอผ้าไหมพื้นเมือง ได้แก่ 1) ท่าฉลุกระดาษลายมัดหมี่   2) ท่ามัดหมี่ 3) ท่าปั่นหลอด หรือ กรอหมี่ 4) ท่าสืบหูก 5) ท่ากรอไหม 6)  ท่าสอดไหม 7) ท่าสอดกระสวย 8)  ท่ากระทบฟืม ช่วงที่ 3 ความสนุกสนานรื่นเริงของชาวบ้าน ได้แก่ 1) ท่าเชิญชวน 2) ท่าหยอกเย้า  3)  ท่าโชว์ผ้าไหม เพลงและดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงดนตรีกันตรึมพื้นบ้านอีสานใต้ ประพันธ์บทร้องและทำนองเพลงโดยศิลปินมรดกอีสาน ใช้วงดนตรี กันตรึมพื้นบ้านอีสานใต้ การแปรแถวมีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่  1) แถวหน้ากระดานสลับฟันปลา 2) แถวรูปตัววี (V) หงายคู่ 3) แถววงกลม 4) แถวเฉียง 5) แถวสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดยืนเป็นคู่ ซึ่งการสร้างสรรค์การแสดงนาฏยประดิษฐ์ชุด “ระบำทอผ้าไหมเมืองสุรินทร์” สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นสุรินทร์ การอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาผ้าไหมพื้นเมือง รวมถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาช่างศิลป์ท้องถิ่นด้านผ้าไหมให้เป็นที่รู้จักในแวดวงสังคมชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติสืบต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2550). การพัฒนาศิลปะการแสดงจากพิธีกรรมกินฮีตของชนเผ่าดั้งเดิมสายตระกูล มอญ-เขมร ในเขต.

_______. (2553). หลักการประดิษฐ์นาฏกรรมพื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สุรินทร์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2552). การศึกษาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา ฉัตรเมืองปัก. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มันทนี ยมจินดา. (2539). มนุษย์กับธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โมฬี ศรีแสนยงค์. (2544). การศึกษาหัตถกรรมชาวบ้าน จังหวัดมหาสารคามเพื่อสร้างเป็นนาฏยประดิษฐ์ ชุดเซิ้งหัตถศิลป์ถิ่นมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เรณู โกศินานนท์. (2535). รำไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์.

วรัญชลีย์ ทวีชัย และคณะ. (2563). “การศึกษาเอกลักษณ์ผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ.” ในการประชุมวิชาการวิจัยและ

นวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 (CRCI 2020). หน้า497 – 503. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

วรรณิกา นาโสก. (2551). พัฒนาการฟ้อนกลองตุ้ม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : สำนักวิทยบริการ.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2542). พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.

สวภา เวชสุรักษ์. (2547). หลักนาฏยประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2535). ความหมายและขอบข่ายงานวัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุดารัตน์ สกุลคู. (2556). บ้านนาเชือก. ม.ป.ท.

สุทัศน์ สังคะพันธ์ และศิริทรัพย์ สังคะพันธ์. (2557). อาณาจักรอาเซียน. กรุงเทพฯ : ไพลินบุ๊คเน็ต.

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2542, มิถุนายน–กันยายน). “นาฏศิลป์.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 24(3) : 2.

อัชราพร สุขทอง. (2560). การศึกษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธ์ไทย-เขมร ไทย-ลาว และไทย-กูย ในจังหวัดสุรินทร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อัชราพร สุขทอง และคณะ. (2565). การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ชุด “เรือมจะลั๊วะโซดละออ” (ระบำย้อมเส้นไหม). หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อัชราพร สุขทอง. (ถ่ายภาพ). (29 กรกฎาคม 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)