แหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณัชชา ลาภจิตร นักศึกษาหลักสูตรครูศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศึกษา) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ชาตรี เกษโพนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้, เครือข่ายเกษตรอินทรีย์, เกษตรอินทรีย์, วิถีชุมชนท่าสว่าง, บูรณาการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง ในการนำเกษตรอินทรีย์ไปใช้ในการดำรงชีวิต และ 3) เสนอแนวทางบูรณาการจัดการเรียนรู้ ของแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลักและตัวแทน ได้แก่ เจ้าของแหล่งเรียนรู้และสมาชิกแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล และครู กศน. กลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์ 12 คน สนทนากลุ่ม 15 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสังเกต และประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสังเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 คน จากประชากร 17,599 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า
     1. แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนมีการรวมตัวกันขึ้นเพื่อผลิต แปรรูปและจำหน่ายสินค้าเกษตรที่ปลอดสารเคมี มีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 6 กลุ่ม คือ ปลูกข้าวอินทรีย์ ปลูกพืชผัก เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงสัตว์ แปรรูปผลผลิตและร้านค้าชุมชน ซึ่งเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์
     2. ความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง ในการนำเกษตรอินทรีย์ไปใช้ในการดำรงชีวิต โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x} = 51) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสังคม (gif.latex?\bar{x} = 4.46) ด้านวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x} = 3.99) และด้านการศึกษา (gif.latex?\bar{x} = 3.61)
     3. แนวทางบูรณาการจัดการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนท่าสว่าง พบว่า ชุมชนมีวิธีจัดการแหล่งเรียนรู้จากฐานราก การปฏิบัติ นำวิถีการดำรงชีวิตมาจัดการเรียนรู้ให้กับสมาชิก ชุมชน ร่วมคิด ค้นหาปัญหา กำหนดเป้าหมาย ติดตามผล ประเมินผล จากการสนทนากลุ่ม เสนอให้มีพัฒนาหลักสูตร คู่มือเรียนรู้ ซึ่งเหมาะสมสามารถนำมาใช้บูรณาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สอดคล้องกับวิชาสังคมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะ วิเคราะห์เชื่อมโยงสาระความรู้ ทักษะกระบวนการ เจตคติค่านิยม ทั้ง 3 มาตรฐานการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่า และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นให้สัมพันธ์กับบริบทของวิถีชุมชน คุณค่าด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กิติยวดี สีดา ใจสคราญ จารึกสมาน และ สวรรค์ ยมสีดา. (2560). แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ขนิษฐา กาตั้ง. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่แดดน้อย สพป.ชม.เขต 6. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2553). การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานเกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์ 4.0. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ วิถีสุรินทร์ 4.0. สุรินทร์ : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์.

ชไมพร ดิสถาพร และคณะ. (2564). การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดนุพล สุขปลั่ง, จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์ และ อภิชาติ ใจอารีย์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

บุษบา ช่วยแสง. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อย อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุจิตรา ยางนอก. (2562). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาเครือข่ายการเรียนรู้กับการพัฒนา สังคม (รหัส2534503). บุรีรัมย์ : สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สมัย มาให้พร้อม. (2566, มกราคม 5). ผู้ใหญ่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.

สวรรค์ มณีโชติ และ ดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อยจังหวัดนครสวรรค์. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2563). การขับเคลื่อนการดำเนินงานเกษตรอินทรีย์ 4.0. สุรินทร์ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.

________. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน ปี 2564). สุรินทร์ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.

________. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2566-2570. สุรินทร์ : กลุ่มงาน ยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.

ศูนย์ตรวจประเมินและรับรองระบบผลิตข้าวอินทรีย์. (2563). รายงานผลการตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ บ้านละเอาะ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561–2565). สุรินทร์ : สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง.

Lukas Kilcher. (2007). How organic agriculture contributes to sustainable Development. University of Kassel at Witzenhausen.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)