แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

ผู้แต่ง

  • สรายุทธ ธานีพูน นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วสันต์ชัย กากแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธัญเทพ สิทธิเสือ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาและศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) พัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) ประเมินแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 504 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรการคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิพากย์แนวทางโดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 9 คน และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง
       ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ (1) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (2) ด้านการบริหารสถานศึกษา และสภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ได้แนวทางทั้งหมด จำนวน 35 แนวทาง 3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจริญ ราชโสภา (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎีวิจัยและการปฏิบัติการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุรีวิทยาศาส์น.

ประชา แสนเย็น. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประยูร อัครบวร. (2552). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กรปกครองและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : บุ๊คพอยท์.

ยงยุทธ บัวสาย. (2556). สภาพ ปัญหา แนวทางการแก้ไขและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิวัฒนพงษ์ พัทโท. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ สถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจ การบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

______. (2565). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565.

______. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

______. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์.

Cohen, J. M. & Uphoff. (1980). N.T.Rural Development Participation: Concept And Measures for Project Design Implementation and Evaluation. New York : Comell University.

Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities. Education March and Psychological Measurement.” 30(3) : 607-610.

Shadid, W. and et al. (1982). Access and Participation : A Theoretical Approach in Participation of the Poor in Development. Leiden : University of Leiden.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)