ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นด้านเกษตรอินทรีย์ ในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ บุญวิเศษ
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร
  • สุภาพร ลาภจิตร สำนักงาน กศน.จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, องค์การบริหารส่วนตำบล, เกษตรอินทรีย์, พื้นที่ชายแดน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเกษตรอินทรีย์ (2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการเกษตรอินทรีย์ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้านเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์จำนวน 3 แห่ง คือ อบต. ตาเมียง อำเภอพนมดงรัก  อบต.ด่าน อำเภอกาบเชิง  และ อบต.จรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารและบุคลากร อบต.  คณะกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ภูมิปัญญา ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชน รวมจำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน  ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาโดยจัดกลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันแล้วสังเคราะห์เป็นข้อสรุปตามประเด็นศึกษา ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อพัฒนาท้องถิ่นด้านเกษตรอินทรีย์ พื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ ด้านบริหารจัดการมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 4.64) รองลงมามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านงบประมาณ (ค่าเฉลี่ย 4.48) ด้านบุคลากร ผู้ปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย 4.42) และด้านเทคนิควิธีการและเครื่องมือ มีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 4.35) ตามลำดับ
  2. 2. ระดับการมีส่วนร่วมของของประชาชนต่อโครงการเกษตรอินทรีย์ขององค์การบริหารสวนตำบลพื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อบต.เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมดำเนินการหรือร่วมปฏิบัติกิจกรรม/โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.74) รองลงมาคือ การร่วมรักษาผลประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 4.58) ร่วมคิดวิเคราะห์ปัญหา (ค่าเฉลี่ย 4.42) ร่วมวางแผนและตัดสินใจ (ค่าเฉลี่ย 4.40) ขณะที่ร่วมติดตามและประเมินผล พบว่า มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.50)
  3. 3. แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้านเกษตรอินทรีย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลพื้นที่ชายแดน จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ พัฒนาศักยภาพผู้นำ เจ้าหน้าที่ กลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ประชาชน พัฒนาหลักสูตรหรือโครงการกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม การศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปฏิบัติ ให้สอดรับกับบริบทพื้นที่ เช่น ปัจจัยพื้นฐานในการผลิต ระบบการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร เทคนิควิธีการเครื่องมือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตรอินทรีย์ ระบบการตลาด รวมถึงการยกระดับเป็นผู้ถ่ายทอด ผู้รู้ภูมิปัญญาชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)