วิเคราะห์คุณสมบัติของนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
คุณสมบัติ, คุณสมบัติของนักเผยแผ่, สังคมพหุวัฒนธรรมบทคัดย่อ
ทุกคนยอมมีคุณค่าและคุณสมบัดิแตกต่างกันไม่ว่าชาวบ้านทั่วไปหรือพระภิกษุสงฆ์ในที่นี้ ขอยกเอาคุณสมบัติของนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์มาวิเคราะห์โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์ และ 3) วิเคราะห์คุณสมบัติของนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ พระสงฆ์ 30 รูป และฆราวาส 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย และหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย เสนอผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) และนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ผลการวิจัยพบว่า
- พระพุทธศาสนาได้อุบัติเกิดขึ้นท่ามกลางพาหิรศาสนาที่มีประเพณี วัฒนธรรมหลากหลายที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวอินเดียในยุคนั้น ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเซน ซึ่งเผยแผ่ร่วมสมัยกับพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่คำสอนในชุมชนร่วมสมัย ที่มีวิถีชีวิต เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเชื่อ และประเพณีต่างกันอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข
- ประเทศไทย เฉพาะในจังหวัดสุรินทร์มีความหลากหลายด้วยชาติพันธุ์มีทั้งชนเผ่าไทย เขมร ส่วยและลาว ซึ่งมีความเชื่อและวิถีชีวิตแตกต่างกันแต่อยู่อร่วมกันได้อย่างสันติ อย่างไรก็ดีคำสอนของพระพุทธได้แทรกอยู่ในประเพณีของชาวบ้าน ได้แก่ ประเพณีการบูชาคุณผู้ที่มีพระคุณ ประเพณีรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประเพณีการอุทิศส่วนบุญไปให้บรรพบุรุษ เป็นต้น
- คุณสมบัติของนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจังหวัดสุรินทร์ที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น ผู้เผยแผ่ต้องผ่านการฝึกอบรม เป็นกัลยาณมิตรกับทุกชุมชน ต้องมีศีล จารวัตร เข้าได้ทุกสังคม ศึกษาเรียนรู้สภาพปัญหาและวิธีแก้ปัญหาในแต่ละชุมชน มีสมณโวหารในการเผยแผ่หลักธรรม คำสอน ด้วยภาษาแต่ละชุมชน ซึ่งช่วยให้การเผยแผ่เป็นไปด้วยดีมีประสิทธิผล
Downloads
References
คูณ โทขันธ์. (2545). พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
พระครูปทีธรรมวงศ์. (2561, พฤศจิกายน 24). เจ้าคณะอำเภอสนม เจ้าอาวาสวัดโคกสะอาด ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2551). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อปยุตฺโต). (2547). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา และสถาบัน บันลือธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก.
______. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.
______. (2557). ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม. กรุงเทพฯ : พิมพ์สวย.
พิทักษ์ ประชุมฉลาด. (2563, มกราคม 5). นักจัดการงานทั่วไป ชำนาญการ, สนง.วัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
ฟื้น ดอกบัว. (2554). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.