การปรับปรุงการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • ไกรสร มีแสง คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การเข้าร่วมการสอบสวน, การปรับปรุงการสอบสวน, คดีค้ามนุษย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีอาญา บทบาท    ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไทยในการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ รวมทั้งปัญหาและ     อุปสรรคของการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ของไทย 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายที่ทำให้การสอบสวนคดีค้ามนุษย์ของไทยขาดประสิทธิภาพ และ 3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้การสอบสวนคดีค้ามนุษย์ของไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสารโดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ ตลอดจนข้อมูลที่เผยแพร่ทาง           สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง

         ผลการวิจัยพบว่า การสอบสวนคดีค้ามนุษย์ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และ    วิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเฉกเช่นเดียวกับการสอบสวนคดีอาญาอื่นทั่วไป โดยมีพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของฝ่ายการเมือง    เป็นผู้ผูกขาดอำนาจสอบสวนไว้แต่เพียงผู้เดียวโดยอิสระ ประกอบกับลักษณะของคดีค้ามนุษย์นั้น  มักกระทำในรูปแบบของขบวนการและมักเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล นักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันอาจเป็นเหตุให้การสอบสวนคดีค้ามนุษย์ถูกแทรกแซงได้โดยง่าย ส่งผลให้ได้สำนวนการสอบสวนที่ไม่มีคุณภาพเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาล ซึ่งไม่สอดรับกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราช บัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 ที่ต้องการให้คดีค้ามนุษย์ได้รับการพิจารณาพิพากษา   ไปอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม ด้วยการกำหนดให้ใช้ระบบไต่สวนในชั้นพิจารณาคดีและให้ศาลนำสำนวนการสอบสวนของพนักงานอัยการโจทก์มาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคดีด้วย ดังนั้น    การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยการกำหนดให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและมีหลักประกันความเป็นอิสระที่สูงกว่าได้เข้ามาร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้นคดีจนกระทั่งเสร็จสิ้นการสอบสวน รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ     พ.ศ. 2547 ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างและการบริหารงานบุคคลในบางกรณีซึ่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ย่อมทำให้เกิดกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล (Checks and Balances) การสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ ได้สำนวนการสอบสวนที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือที่ศาลสามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม         อันเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)