แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, ส่วนประสมทางการตลาด, อำเภอแม่เมาะ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, ลำปางบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลสภาพและปัญหาการดำเนินงานด้านการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง รวมถึงส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในการดำเนินงานด้านการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือ ปัญหาในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับราคาของวัตถุดิบที่มีการปรับราคาสูงขึ้นตามกลไกตลาด ปัญหาด้านกระบวนการให้บริการเกี่ยวกับจำนวนของป้ายบอกทางที่อาจไม่เพียงพอ ปัญหาสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิค-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดจำนวนลงในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเมาะหลวง มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( =4.56) ด้านบุคลากรในการบริการมีค่าเฉลี่ย ( =4.66) ด้านช่องทางการจำหน่าย มีค่าเฉลี่ย ( =4.65) ด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ย ( =4.37) ตามลำดับ
ส่วนแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเมาะหลวง ควรมีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามาช่วยส่งเสริมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน 2) ส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ว่างงานในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนให้มากขึ้น 3) เพิ่มจุดหรือสถานที่ในการทิ้งขยะของนักท่องเที่ยวให้ทั่วถึง รวมถึงส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน 4) คนในชุมชนควรช่วยกันสอดส่องดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชนทุกช่วงเวลา 5) ติดตั้งป้ายบอกทางระหว่างการเดินทางมาท่องเที่ยวและภายในหมู่บ้านให้เพิ่มมากขึ้น