การพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • จารุภา แซ่ฮ่อ
  • วันชัย สุขตาม
  • นพฤทธิ์ จิตรสายธาร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, เทศบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้  การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากบุคลากรในเทศบาลตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 399 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณเท่ากับ 0.916 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 ราย ได้แก่  ปลัด รองปลัด นายกเทศบาล ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม นักวิชาการสาธารณสุข นักบริหารงานสวัสดิการสังคม นักพัฒนาชุมชน หัวหน้าสำนักปลัด และหัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า

1) การพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ อภิปรายผลแยกเป็นรายด้านเพื่อกำหนดการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และตำแหน่ง พบว่า บุคลากร ที่มีเพศ อายุ สถานภาพการสมรส และระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนบุคลากรที่มีอายุ และตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้         

          3) การพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1)   ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการกำหนดมาตรฐานการกำหนดอัตรากำลัง กำหนดตำแหน่ง ตามระดับชั้นของ เทศบาล ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2) ด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์ ควรให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน มีการวิเคราะห์ปริมาณงานกับความต้องการกำลังคน 3) ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ ควรกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และตัวชี้วัดการประเมินร่วมกันให้เป็นที่ยอมรับ โดยยึดหลักผลงาน ความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความประพฤติ ความตั้งใจในการทำงาน 4) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการฝึกอบรม และให้ทุนศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี -ปริญญาโท ให้ทั่วถึง รวมถึงตั้งงบประมาณเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ การจัดส่งบุคลกรไปฝึกอบรมหรือการให้ทุนศึกษาต่อ ควรพิจารณาให้ตรงกับตำแหน่งหน้าที่ สายงานที่ปฏิบัติ 5) ด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ควรมีระบบ และกลไกที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน และพนักงานด้วยกันเอง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)