การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวัดคุณภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน 3) ด้านการมีส่วนรวมในการดำเนินการ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 200 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิดโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณเท่ากับ 0.916 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ราย ได้แก่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าสำนักปลัด ผู้อำนวยการกองคลัง และประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ต้องไม่ใช่บุคคลกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท