การศึกษาภูมิปัญญาตรัวจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุภนิดา พรเอี่ยมมงคล
  • เชาว์ การวิชา
  • เฉลิมกิต เข่งแก้ว

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, ตรัวกนาล, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาภูมิปัญญาตรัวกนาลในสังคมวัฒนธรรมชาวไทย เชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของครูภูมิปัญญาตรัวกนาล จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากการสัมภาษณ์และการสังเกตจากครูภูมิปัญญาตรัวกนาลจำนวน 4 คน คือ นายธงชัย สามสี นายเผย ศรีสวาท นายทอม จันทนุภา และนายเสรือน มุ่งมี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์มีค่าความเหมาะสมของแบบสัมภาษณ์ (IOC) อยู่ที่ 0.92 เก็บข้อมูลโดยการ ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภูมิปัญญาตรัวกนาลในสังคมวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ ตรัวกนาล เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีมี 2 สาย กำหนดประเด็นในการศึกษา คือ 1.1 ภูมิปัญญาการสร้างตรัวกนาล สามารถแบ่งขั้นตอนการสร้างตรัวกนาลได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1.1 การสร้างตล็อกตรัว 1.1.2 การขึ้นหน้ามุกตรัว 1.1.3 การสร้างด็องตรัวและตระจี๊กตรัว และ 1.1.4 การสร้างฉนากตรัว  1.2 บทบาทและการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของตรัวกนาล แบ่งประเด็นในการศึกษา 2 ประเด็น ได้แก่ 1.2.1 บทบาทของตรัวกนาล ตรัวกนาลเป็นเครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงดนตรี 2 วงคือ มโหรีและวงกันตรึม และ 1.2.2 การพัฒนา ลักษณะทางกายภาพของตรัวกนาล แบ่งลักษณะทางกายภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) ตล็อกตรัว (2) ด็องตรัว และ (3) ฉนากตรัว
  2. กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของครูภูมิปัญญาตรัว จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยประเด็นในการศึกษา 3 ประเด็น ได้แก่ 2.1 ขั้นการรับศิษย์ 2.2 ขั้นการเลือกบทเพลงในการถ่ายทอด และ 2.3 ขั้นกระบวนการถ่ายทอดและประเมินผล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)