วัฏฏะพุทธศาสนาในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาธนกร สร้อยศรี
  • พระปลัดเมธี เขมปญฺโญ
  • นรุณ กุลผาย

คำสำคัญ:

วัฏฏะ, พุทธศาสนา, สังคมไทย

บทคัดย่อ

 พุทธศาสนาในสังคมไทย มีความเป็นองค์กรมั่นคงถาวรและมีองค์ประกอบอย่างชัดเจน ทั้งศาสนบุคคล ศาสนธรรม ศาสนพิธี และศาสนสถาน แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปองค์ประกอบเหล่านี้ กลับเป็นปัญหาหลัก หรือ จุดด้อยของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน ตั้งแต่ยุคอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา จนถึงยุครัตนกรุงโกสินทร์ กระบวนทางศาสนาพุทธในประเทศไทยได้พัฒนาตนเองตลอดมา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างจากแหล่งกำเนิดของศาสนา ดังนั้น กระบวนการทางศาสนาจึงเปลี่ยนแปลงบทบาทตนเอง เพื่อสนองตอบนโยบายสร้างชาติ โดยมีบุคลากรทางศาสนาคือ พระสงฆ์เป็นผู้สนองงาน

             บทความนี้ จึงเป็นการนำเสนอให้เห็นวัฏฏะพุทธศาสนาในสังคมไทย ที่แม้พุทธศาสนาจะมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การครอบงำของสังคมอยู่ดี ทั้งในด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพราะศาสนาพุทธเป็นของคนไทย ฉะนั้น ทุกสถานการณ์ของศาสนาพุทธในสังคมไทยจึงเป็นไปภายใต้ความต้องการของคนไทย พุทธศาสนาไทยไม่ได้ขับเคลื่อนตนเองอย่างอิสระอย่างเสรีโดยยึดธรรมวินัยเป็นเกณฑ์ ไม่ต้องไปดูอื่นไกล ดูสถานการณ์การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชาผู้เป็นประมุขสงฆ์เป็นตัวอย่างของสถานการณ์พุทธศาสนาในสังคมไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)