การพัฒนาสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรีด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎี

ผู้แต่ง

  • Chaemchan Na Kalasin
  • Surin Suthithatip
  • Rapin Chayvimol

คำสำคัญ:

สัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์, นักศึกษาปริญญาตรี, การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎี

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาองค์ประกอบสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์

และเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรีที่ได้รับการปรึกษาในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาองค์ประกอบ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม (Focus group) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) สร้างข้อคำถามจากข้อมูลการสนทนากลุ่ม ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทดลองใช้ (Try out) หาคุณภาพเครื่องมือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ทดสอบเกณฑ์ปกติ (Norms)  และระยะที่ 2 ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎี และพัฒนาโปรแกรมแบบผสมผสานทางทฤษฎี หรือ Theoretical integration ได้แก่ ทฤษฎีผู้รับการปรึกษา เป็นศูนย์กลางของโรเจอร์ส (Carl Rogers) และทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt) ของเพิร์ลส์ (Fritz Perls)  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าคะแนนสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ ที่มีค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ต่ำกว่า 25 จากการสุ่มแบบ Random assignment ถามความสมัครใจ เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมน-คูลส์

         ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์มี 6 องค์ประกอบ จำนวน ข้อคำถาม 32 ข้อ  ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการสอน ด้านการเห็นคุณค่า ด้านคิดเห็นไม่ตรงกัน ด้านความเอื้ออาทร ด้านความใกล้ชิด และด้านอารมณ์ โดยพิจารณา 1) สอดคล้องกลมกลืนของโมเดล (Goodness-of-fit: GOF) X2 = 892.17, df = 2.916,  p = 0.00, GFI = 0.95, AGFI = 0.914, SRMR = 0.069 และ RMSEA = 0.043  2) ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.793-0.926 ทุกองค์ประกอบผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับดี และระยะที่ 2 ศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎี พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีมีสัมพันธภาพต่ออาจารย์สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาที่เข้ารับการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีมีสัมพันธภาพต่ออาจารย์ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)