การประยุกต์ใช้สื่อประสมผ่านกระบวนการสังเคราะห์คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพยในวรรณคดีบทละครเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

ผู้แต่ง

  • Jamnong Junkhiew
  • Wijittra Potisarn
  • Pischanunt Sonthithum

คำสำคัญ:

สื่อประสม, คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพย, วรรณคดีบทละครเสภา, ขุนช้างขุนแผน

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพยที่ปรากฏในวรรณคดีบทละครนอก เรื่อง ขุนช้างขุนแผน 2) เพื่อสร้างสื่อประสมเผยแพร่คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพยในวรรณคดีบทละครนอก เรื่องขุนช้างขุนแผน และ 3) เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้สื่อประสมเผยแพร่คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพยในวรรณคดีบทละครนอก เรื่องขุนช้างขุนแผน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 49 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพย 2) สื่อประสมเผยแพร่คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพยในวรรณคดีบทละครนอก เรื่องขุนช้างขุนแผน 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อประสม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ One sample t-test ผลการวิจัยดังนี้ ผลการสังเคราะห์คติพจน์ สุภาษิต คำพังเพยที่ปรากฏในวรรณคดีบทละครนอก เรื่อง ขุนช้างขุนแผน พบว่า เนื้อหาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพยที่ตรงกับสำนวนไทย มีจำนวน 35 ประโยค และคติสอนใจที่เทียบได้กับสำนวนไทย มีจำนวน 7 ประโยค ผลการสร้างสื่อประสม พบว่า สื่อประสมประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และปฏิสัมพันธ์โต้ตอบผู้ใช้งาน ผลการประยุกต์ใช้สื่อประสม พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อประสมพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.51)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)