การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ” แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนสู่นวัตกรรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Luckhana Suksai
  • Jintakarn Suthamdee

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, แผ่นดินถิ่นรักษ์, บทเรียนบนเครือข่าย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและรูปแบบและแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ” 2) สร้างและพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ” ที่มีคุณภาพ 3) ศึกษาผลของการใช้หลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ” และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในวิถีชีวิตตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ t-test – dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ “แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ” โดยมีผู้รู้ในท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้และประเมินผล 2) ผลการพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์” มีคุณภาพอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด 3) ผลการใช้นวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์” มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจในวิถีชีวิตตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)