แนวทางการบริหารจัดการการเกษตรที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
แนวทาง, การบริหารจัดการ, การเกษตร, พื้นที่ต้นน้ำบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพและบริบทการบริหารจัดการการเกษตรในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการเกษตรที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานภาพและบริบทการบริหารจัดการการเกษตรในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดศรีสะเกษ มีการจัดสรรพื้นที่เพื่อทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย ปัญหาที่พบ คือ ปัญหาการการขาดแคลนน้ำ ปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การใช้ปุ๋ยเคมีมาก และ สารเคมี ประเภทหรือรูปแบบการเกษตรในพื้นที่ต้นน้ำ จึงมีรูปแบบที่สำคัญเฉพาะตัว อาทิ การปลูกพืชเกษตรบนพื้นที่สูง การเกษตรเพื่อการบริโภคในครัวเรือน สำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรของชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำ มีทั้ง เครื่องจักร และแรงงานคน หน่วยงานในท้องถิ่นและหน่วยงานราชการเข้ามาส่งเสริมเทคโนโลยีและการบริหารจัดการด้านการเกษตรพื้นที่ต้นน้ำ และสนับสนุนให้ประชาชนดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2) แนวทางการบริหารจัดการการเกษตรที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ การกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง การทำเกษตรอินทรีย์และลดใช้สารเคมี การจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร โดยต้องยึดหลักการฐานการผลิต การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญา ควบคู่กับ เทคโนโลยีทางการเกษตรแบบสมัยใหม่ การจัดการทางการตลาด การควบคุม คุณภาพผลผลิตทางการเกษตร การเก็บรักษาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การใช้พื้นที่ให้มีความเหมาะสม เพื่ออนุรักษ์สภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะสม และพบว่าเกษตรกรองค์ความรู้แต่นำไปปฏิบัติในการจัดการเกษตรน้อย 3) การนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการการเกษตรที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัด ศรีสะเกษ ประกอบด้วย แนวทางการเพิ่มทักษะ องค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน และแนวทาง การประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการแผนงานโครงการ พัฒนาบุคลกร แผนบูรณาการการส่งเสริมการเกษตรแก่เกษตรกรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง