การวิจัยและการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์โดยบูรณาการแนวคิดการนำตนเองร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนและการรับรู้ความสามารถของตนเอง
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, นักศึกษาครูคณิตศาสตร์, ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, แนวคิดการนำตนเอง, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการแนวคิดการนำตนเองร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบ การเรียนการสอน และการรับรู้ความสามารถของตนเอง และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ การวิจัยดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการออกแบบการเรียนสอนและแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1) รูปแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์, ขั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง และขั้นสะท้อนความคิด 2) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยในด้านความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 3.85 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองเท่ากับ 4.87 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05