แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้งแบบบูรณาการ ของชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ โชควรกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ทรัพยากรน้ำ, ภาวะภัยแล้ง, การบูรณาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทชุมชน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้ง ของชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงาน ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้ง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกในชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้งแบบบูรณาการ กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ อย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ประกอบด้วย ประชาชนที่อาศัยในเขตชุมชนบ้านนาฝาย และมีภูมิลำเนาหรือทะเบียนบ้านอยู่ในชุมชนบ้านนาฝาย ซึ่งได้แก่ ชาวบ้าน เกษตรกร และ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนบ้านนาฝาย แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน หรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ในชุมชนบ้านนาฝาย (ประชากรแฝง) ซึ่งได้แก่ นักเรียน นักศึกษา คณะครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ หรือคณะทำงานในหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน เป็นต้น การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจหรือการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาถึงสภาพบริบทชุมชน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้ง ของชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  และการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลวิจัยเชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participatory Observation) และใช้วิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนชุมชน โดยเน้นความสำคัญของพลวัตร กลุ่ม (Group dynamics) ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) เป็นการวิจัยที่มุ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาเชิงลึก

         ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้งแบบบูรณาการนั้น จะต้องใช้ฐานข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ โดยข้อมูลนั้น ๆ จะต้องครบถ้วน ทันสมัย และใช้กระบวนการวิจัยเพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับปัญหา ความจำเป็น สาเหตุ รวมทังนวัตกรรมที่เป็นผลวิจัยในการนำความรู้เทคนิควิธีการและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรนำให้ตอบสนองความต้องการของประเทศ เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมขององค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูลน้ำของไทย

  1. ระบบการช่วยเหลือชดเชยความเสียหายที่เกิดจากภัยแล้ง

         การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัยพิบัตินั้น ไม่ควรจำกัดเพียงเงิน อาหาร และสิ่งใช้สอยที่จำเป็น แต่ควรให้โอกาสชุมชนได้ใช้กำลังและศักยภาพในการสร้างชุมชนขึ้นมาใหม่การสนับสนุนให้ผู้ประสบภัยมีโอกาสเป็นแกนหลักในการฟื้นฟูชุมชนและสร้างความเปลี่ยนแปลง เครื่องมือสำคัญคือการสื่อสารเชื่อมโยงกับชุมชนอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน เพื่อสร้างและฟื้นฟูสภาพชีวิตและชุมชนขึ้นใหม่ในช่วงเวลาสั้นๆ

  1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

         ส่งเสริมการรวมกลุ่ม “เครือข่ายทรัพยากรนำชุมชน” โดยการส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีภารกิจเพื่อส่งเสริม สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติส่งเสริมบทบาทขององค์กรเครือข่ายทรัพยากรน้ำชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นหลักในการแก้ปัญหาในระดับท้องถิ่น

  1. ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

          มีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและประชาชนในการจัดการน้ำจึงต้องพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเชิงบูรณาการขึ้นมา โดยเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานและการทำงานร่วมกันของฝ่ายราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น ในการพัฒนา การใช้และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)