การมีส่วนร่วมสร้างเสริมอาชีพผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลาส้มสมุนไพร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมปลาส้มสมุนไพร, อาชีพผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญา, ปลาส้มสมุนไพรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนที่มีการทำปลาส้ม 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างอาชีพผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลาส้มสมุนไพร 3) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้สูงอายุ 4) เพื่อเสนอแนะนโยบายการสร้างอาชีพแก่ผู้สูงอายุ รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มแปรรูปปลาส้ม จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลด้วย วิธีสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการบันทึกภาคสนาม ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพบริบทชุมชนที่มีการทำปลาส้ม มีบริบทดังนี้ 1.1) แหล่งน้ำ 1.2) ผู้นำชุมชน /กลุ่ม 1.3) กิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนต่อเนื่อง 1.4) การช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม เน้นการประกอบอาชีพ 1.5) การทำปลาส้มที่พึ่งพาตนเอง 2) รูปแบบการสร้างเสริม อาชีพผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลาส้มสมุนไพร มีกิจกรรมการเรียนรู้ ในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมอาชีพผู้สูงอายุไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย ดังนี้ 2.1) การมีส่วนร่วม (Participation) 2.2) มีความสนใจ (Interest) 2.3) การสร้างเครือข่าย (Network) 2.4) การสนับสนุน (Support) 2.5) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed) 2.6) สังคมแห่งการเรียนรู้ (Social Learning) ด้วยรูปแบบ PINSSS Model 3) แนวทางการสร้างอาชีพแก่ผู้สูงอายุ จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร จากภูมิปัญญาปลาส้มสมุนไพร พบว่า ภาครัฐ ภาคชุมชน แสวงหาช่องทางการตลาด ที่อำนวยความสะดวกแก่สูงอายุ ให้มีทุนหมุนเวียนอาชีพผู้สูงอายุให้ลดการพึ่งพาจากรัฐ 4) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการสร้างอาชีพแก่ผู้สูงอายุ พบว่า ควรจัดสร้างศูนย์กลางข้อมูลอำนวยความสะดวก การสร้างงานและอาชีพเสริมรายได้ของผู้สูงอายุ จัดหาสถานที่จำหน่ายปลาส้มสมุนไพรให้สะดวกซื้อ รัฐควรจัดสรรทุนอุดหนุนจัดตั้งกลุ่มอาชีพแก่ผู้สูงอายุแบบให้เปล่า