การพัฒนาศิลปะการแสดงจากฟ้อนกลองตุ้มกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Niztha Butsabong
  • Khanuengnit Saiyasopon
  • Siripen Attapaiboon

คำสำคัญ:

การพัฒนาศิลปะการแสดง, ฟ้อนกลองตุ้ม, กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว

บทคัดย่อ

          การพัฒนาศิลปะการแสดงจากฟ้อนกลองตุ้มกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในจังหวัดอุบลราธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฟ้อนกลองตุ้ม ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งในด้านความเป็นมา องค์ประกอบ บทบาทและคุณค่า และเพื่อพัฒนาศิลปะการแสดงจากฟ้อนกลองตุ้มกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า ฟ้อนกลองตุ้มกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ของชาวตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เกิดขึ้นจากการละเล่นพื้นบ้านเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงของชาวบ้าน และพิธีกรรม ความเชื่อ ความศรัทธาในการขอฝนประกอบฮีตบุญเดือนหก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งทางด้านท่าฟ้อนหลักทั้ง 4 ท่า การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีการสวมใส่เล็บที่ทำจากหวาย ถักทอลวดลายสวยงามด้วยเส้นด้ายสีต่าง ๆ ประดับปลายเล็บด้วยพู่สีขาว และจังหวะการตีกลองตุ้ม และพังฮาด การพัฒนาศิลปะการแสดงจากฟ้อนกลองตุ้ม กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเป็นศิลปะการแสดงชุด วาดฟ้อนลำก้ำห้วยขะยุง โดยมีท่าฟ้อน ทำนอง คำร้อง และการแต่งกายที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม นำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวคิดในการสร้างสรรค์องค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1) องค์ประกอบของการแสดงจากฟ้อนกลองตุ้มกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ คำร้อง ทำนอง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ผู้แสดง การแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง และรูปแบบการแสดง 2) กระบวนท่าฟ้อนประกอบการแสดง ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์กระบวนท่าฟ้อน และการปรับแถว เพื่อสร้างความหลากหลายดึงดูดความสนใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับการนำเสนอความเป็นอัตลักษณ์ของฟ้อนกลองตุ้ม ตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)