การพัฒนาชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสำราญ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Thanan Khanthayot
  • Sayam Chuangprakhon

คำสำคัญ:

ชุดการสอนเมโลเดี้ยน, โคดาย

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนเมโลเดี้ยน ตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสำราญ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะความสามารถในการปฏิบัติเมโลเดี้ยน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านโคกสาราญ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาทดลองทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการเรียนการสอนเมโลเดี้ยนด้วยวิธีการสอนของโคดายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน 10 ชั่วโมง และแบบวัดทักษะการปฏิบัติเมโลเดี้ยนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะความสามารถในการปฏิบัติเครื่องดนตรีเมโลเดี้ยน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดายโดยใช้ t-test (t- test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.63/ 84.58 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย มีพัฒนาการด้านความรู้ ความเข้าใจ ที่ดีขึ้น 2) นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีเมโลเดี้ยน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบทักษะความสามารถในการปฏิบัติเครื่องดนตรีเมโลเดี้ยนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.00 โดยสรุปการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ชุดการสอนเมโลเดี้ยนตามแนวคิดของโคดาย ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำไปใช้สอนผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)