การแปรทำนองเพลงพิณโบราณ : ทองใส ทับถนน

ผู้แต่ง

  • Krisada Daoruang
  • Pranote Meeson

คำสำคัญ:

การแปรทำนอง, เพลงพิณโบราณ, ทองใส ทับถนน

บทคัดย่อ

          การแปร เป็นแนวทางการพัฒนาทำนองที่ใช้ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก และยังพบในวัฒนธรรมดนตรีอีสาน ดังนั้น การแปรทำนองเพลงพิณโบราณของทองใส ทับถนน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพลงพิณโบราณของครูทองใส ทับถนน เป็นตัวอย่างสำหรับการอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับการแปรทำนอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้หลักการทางมานุษยดุริยางควิทยาเป็นแนวทางการศึกษา คือ การศึกษาเอกสาร การทำงานภาคสนาม การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลการแปรทำนองเพลงพิณโบราณของครูทองใส ทับถนน โดยดำเนินงานภาคสนามระหว่างเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ได้ผลการศึกษาดังนี้

          ผลการศึกษาการแปรทำนองเพลงพิณโบราณของทองใส ทับถนน มี 3 ประเด็น คือ 1) พบเพลงพิณโบราณของครูทองใส ทับถนน คือ ลายลำเพลิน (ขุนช้างขุนแผน) ลายพระรามเดินดง (สนูบ่าว) ลายตังหวาย (สำเนียงลาว) 2) พบระบบเสียงพิณของครูทองใส ผลการวัดเสียงสายหนึ่งตั้งเสียงมี (E) มีผลต่างจากค่ามาตรฐาน -8.7 Cents (E4 -8.7 Cents)  ส่วนสายสองตั้งเสียงลา (A) มีผลต่างจากค่ามาตรฐาน +3.3 Cents (A3 +3.3 Cents) 3) พบการแปรทำนองในเพลงพิณโบราณของครูทองใส จำนวน 4 จุด คือ ลายลำเพลิน (ขุนช้างขุนแผน) จำนวน 1 จุด ลายพระรามเดินดง (สนูบ่าว) จำนวน 2 จุด และลายตังหวาย จำนวน 1 จุด โดยใช้การย่อส่วนจังหวะ (Diminution) และการขยายส่วนจังหวะ (Augmentation) แล้วตามด้วยการประดับโน้ต (Ornamentation) เสมอ ส่วนมากยังคงใช้โน้ตสำคัญในจังหวะเดิม อย่างไรก็ตามการศึกษาเพลงพิณโบราณของครูทองใส ทับถนน ยังมีเนื้อหาและองค์ความรู้ที่สะท้อนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เหมาะแก่การศึกษาเพื่อเรียนรู้และสร้างความเข้าใจต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)