การสื่อสารวิทยาศาสตร์ในบริบทของวัฒนธรรมน้ำในไทยและสปป.ลาว

ผู้แต่ง

  • Sukchai Sompongpun
  • Kotchanipha Udomthawee

คำสำคัญ:

การสื่อสารวิทยาศาสตร์, วัฒนธรรมน้ำ, การพัฒนา, อริยสัจสี่

บทคัดย่อ

         บทความนี้เป็นการศึกษาวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำโขง ชี มูลในบริบทของวัฒนธรรมน้ำ ด้วยการใช้การสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างการรับรู้ ความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าและน้ำของชุมชน ศึกษารวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบสอบถาม ด้วยวิธีวิจัยเชิงมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ผลการศึกษา ด้วยการสื่อสารแบบสองทาง  และการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) พบว่า ชุมชนไทยและสปป.ลาวรับรู้และตระหนักว่า “น้ำคือชีวิต” ชุมชนมีทุนธรรมชาติ ที่สำคัญคือ ปลา ต้นไม้ใหญ่ การสืบสานประเพณีเกี่ยวกับวัฒนธรรมน้ำ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัด ภาครัฐ และชุมชน ทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าความเคารพต่อประเพณีของตนและเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ก่อให้เกิดเครือข่ายอนุรักษ์ป่าและน้ำแบบมีส่วนร่วม สามารถการแก้ปัญหาด้วยหลักอริยสัจสี่  การสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ ด้วยมีหลักการสอดคล้องตามแนวคิดการพัฒนาด้วยศาสตร์พระราชาคือ การพัฒนาชุมชนจะสำเร็จ ต้องเริ่มจากเข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)