รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • Sap-anan Chusrithong
  • Pakdee Phosing

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, รูปแบบ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 320 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการพยากรณ์แบบพหุคูณ ระยะที่ 2 รูปแบบสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิพากษ์และยืนยันรูปแบบผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมมีระดับสมรรถนะที่มีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความร่วมแรงร่วมใจ ด้านการบริการที่ดี ด้านจริยธรรม และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรพยากรณ์ แบบการเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน พบว่า ตัวแปรอิสระ (X) ที่สามารถพยากรณ์สมรรถนะที่มีผลต่อตัวแปรตาม (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (X1) ด้านการบริการที่ดี (X2) ด้านความร่วมแรงร่วมใจ (X5) และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.747 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.558 และมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ ร้อยละ 55.80 มีสมการพยากรณ์เท่ากับ Z = 0.410Z1 + 0.313Z2 + 0.188Z5 + 0.100Z3 (3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปได้ว่า (ก) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ บุคลากรควรมีความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ความสามารถในการทำงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ (ข) ด้านการบริการที่ดี บุคลากรควรมีความสามารถให้บริการที่ดีแก่ผู้รับบริการ การช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้รับบริการ การให้บริการที่เกินความคาดหวัง (ค) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ บุคลากรควรให้ความสนใจและติดตามความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาอาชีพของตนหรือที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ และ (ง) ด้านความร่วมแรงร่วมใจ บุคลากรควรทำหน้าที่ของตนในหน่วยงานให้สำเร็จให้ความร่วมมือในการทำงานกับผู้ร่วมงาน ประสานความร่วมมือของสมาชิกในหน่วยงาน สนับสนุนช่วยเหลือผู้ร่วมงานคน อื่น ๆ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)