กลยุทธ์การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นด้วยการสร้างค่านิยมของกลุ่มนักศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การทุจริตคอรัปชั่น, การสร้างค่านิยม, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่านิยมและทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่มีต่อการทุจริตคอรัปชั่น 2) ศึกษากลยุทธ์ในการสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และ 3) นำความรู้จากผลการวิจัยถ่ายทอดให้กับนักศึกษาเพื่อสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (Focus group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม(Participation Observation) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non- Participation Observation) โดยคัดเลือกแบบเจาะจงนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ผู้นำนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของคณะต่างๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เช่น ประธานนักศึกษา ประธานสโมสรนักศึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับค่านิยมและทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่มีต่อการทุจริตคอรัปชั่น จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ผู้นำนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของคณะรัฐศาสตร์ ผู้นำนักศึกษาที่เป็นตัวแทน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เช่น ประธานนักศึกษา ประธานสโมสรนักศึกษา จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ พระภิกษุ คณะกรรมการธรรมาภิบาล (กธจ.) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) และผู้ทรงคุณวุฒิ ในจังหวัดชัยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า ค่านิยมและทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่มีต่อการทุจริตคอรัปชั่น ในประเด็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นเพื่อแสงหาผลประโยชน์ ซึ่งเป็นการแสวงหาประโยชน์เข้าตัวเองมากเกินไป โดยผลประโยชน์นั้นส่งผลต่อความเดือดร้อนของผู้อื่น การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำที่ไม่บริสุทธิ์ ขาดความถูกต้องยุติธรรม ไม่โปร่งใส เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมรับ การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบกระทำใด ๆ ที่ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องหรือละเว้นการกระทำใด ๆ ละเว้นการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในตำแหน่งหน้าที่ การให้สินจ้าง การให้รางวัล เพื่อชักจูงให้บุคคลบิดเบือนเหตุผลบางอย่างไปจากความจริง และการใช้วิธีการใด ๆ ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการโดยไม่ชอบธรรม กลยุทธ์ในการสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นที่นำมาใช้ในองค์กร มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกตามวิถีไทยเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่จะต้องช่วยปลูกฝังจิตสำนึกหรือค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นให้กับบุตรหลาน การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการศึกษาในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นในสถาบันการศึกษาทำหน้าที่การอบรมบ่มเพาะให้ลูกหลานได้เติบโตจากเล็กสู่ผู้ใหญ่ โดยทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษา จัดตั้งชมรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นภายในสถาบัน เพื่อสะท้อนปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับนักศึกษา