แนวทางการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ บัวจันอัฐ Prasert Boujunaut

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการขยะชุมชน, การจัดการขยะชุมชน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการขยะชุมชนของประชาชน         2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนของประชาชน และ 3) ศึกษาแนวทางในการจัดการขยะชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ หัวหน้าครัวเรือนที่ จำนวน 310 ครัวเรือน และผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการขยะภายในครัวเรือน พบว่า ถังขยะที่รองรับในบ้านส่วนใหญ่มีภาชนะหรือที่รองรับแบบไม่มีฝาปิดมากที่สุด ขยะที่มีปริมาณมากที่สุดในแต่ละวันของครัวเรือนอันดับที่ 1 คือ ถุงพลาสติก ขวด กระป๋อง ส่วนการจัดการขยะในครัวเรือนใช้วิธีการเผามากที่สุด ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.04) สำหรับแนวทางการจัดการขยะชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน คือ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ สร้างแนวทางและวินัยในการคัดแยกขยะจากต้นทาง โดยการออกให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ส่งเสริมการลดปริมาณขยะ และให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ กำหนดจุดวางขยะที่ชัดเจน กำหนดวันจัดเก็บ เช่น วันคี่เก็บขยะแห้ง วันคู่เก็บขยะเปียก โดยมีป้ายประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบในแนวปฏิบัติ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)