รูปแบบการส่งเสริมการออมของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การออม, การส่งเสริมการออม, กองทุนการออมแห่งชาติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการออมของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมการออมของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดอุบลราชธานี มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ คือ การดำเนินการของกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดอุบลราชธานี ในการส่งเสริมการออมด้านผลตอบแทน ด้านความมั่นคงของกองทุน ด้านการประกันความเสี่ยง ด้านการมีเป้าหมายในการออม และด้านแรงจูงใจในการออม 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติฯ ด้านผลตอบแทน ด้านความมั่นคงของกองทุน ด้านการประกันความเสี่ยง ด้านการมีเป้าหมายในการออม และด้านแรงจูงใจในการออม 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย 3.1) ด้านผลตอบแทน โดยการจ่ายผลตอบแทนอย่างเหมาะสม การรับประกันผลตอบแทน การจ่ายเงินสมทบ การให้บำนาญรายเดือนตลอดชีวิต การให้เงินสะสมตกทอดแก่ทายาท และการให้ความรู้เรื่องผลตอบแทน 3.2) ด้านความมั่นคง โดยการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ การวางระบบบัญชีอย่างเหมาะสม การรายงานผลการดำเนินงาน การประเมินผลโครงการ การวางแผนการออม การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน และการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.3) ด้านการประกันความเสี่ยง โดยการจัดทำระบบการบริหารความเสี่ยง การนำกฎหมายมาใช้ การกำหนดระเบียบข้อบังคับ การพิจารณาเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์ และการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิก 3.4) ด้านเป้าหมายในการออม โดยการส่งเสริมให้สมาชิกมีเป้าหมายในการออม การกำหนดเป้าหมายการออม การกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้จ่าย การให้ความรู้ในเป้าหมายการออม การออมเงินได้ให้ผลตอบแทนสูงสุด การนำระบบสารสนเทศมาใช้วางแผนการออม การกำหนดสัดส่วนในการใช้เงิน และการปรับแผนการใช้จ่าย 3.5) ด้านแรงจูงใจในการออม โดยการในการออม การควบคุมราคาสินค้า การประชาสัมพันธ์สิทธิพิเศษ การสำรวจความต้องการในการพัฒนากองทุน และการประชาสัมพันธ์กองทุน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ สมาชิกต้องมีความตั้งใจปฏิบัติตามเงื่อนไข กองทุนต้องทำตามข้อตกลง สร้างความเชื่อมั่นและการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และภาครัฐต้องให้การสนับสนุนและพัฒนากองทุน