การคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านกันตรึม : เอกลักษณ์ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย–เขมร

ผู้แต่ง

  • พรรณราย คำโสภา

คำสำคัญ:

เพลงพื้นบ้านกันตรึ, , เอกลักษณ์ภูมิปัญญา, กลุ่มชาติพันธุ์ไทย–เขมร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะและปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านกันตรึม 2) ศึกษาแนวทางการการพัฒนาเพื่อให้เกิดความคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านกันตรึม  โดยใช้แนวคิดการคงอยู่ทางวัฒนธรรม แนวคิดการปรับตัว แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และแนวคิดการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์  ดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนามในแหล่งวัฒนธรรมกันตรึม นำข้อมูลมาถอดองค์ความรู้ และนำเสนอในเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

         ลักษณะของเพลงพื้นบ้านกันตรึม มีที่มาจากดนตรีตุ้มโมงซึ่งมีความสัมพันธ์กันในด้านภาษาและวรรณกรรมที่ปรากฏในท้องถิ่น ปัจจุบันมีการพัฒนาวงกันตรึมจากวงแบบดั้งเดิมไปสู่วงแบบประยุกต์ เพื่อตอบสนองต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป   ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านกันตรึม มี 6 ประการ คือ 1) การเมืองการปกครอง 2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 3) การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม 4) การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ 5) การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา และ 6) การสืบทอดและการถ่ายทอด  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมตามการเปลี่ยนแปลงทางกระแสโลกาภิวัฒน์  สำหรับแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดความคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านกันตรึม พบว่า ควรมีแนวทาง 7 ประการ คือ 1) การสืบทอดจากความสนใจของกลุ่มเด็กในยุคปัจจุบัน 2) การสร้างสรรค์ผลงานที่ได้มาจากการเรียนรู้เพลงแบบดั้งเดิมปรับเข้ากับแนวทางดนตรีร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน 3) การสร้างความคุ้นชินกับเสียง 4) การศึกษาหน่วยงานระดับสถาบันควรเพิ่มเติมการสืบสานถ่ายทอด 5) สนับสนุนการเรียนการสอนสู่วัยเด็ก เชิดชูศิลปิน 6) สนับสนุนการใช้ภาษาเขมรให้คงอยู่ และ 7) สนับสนุนยกระดับดนตรีกันตรึมให้มีเวทีการแข่งขัน

         ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความอยู่รอดของเพลงพื้นบ้านกันตรึม คือ การปรับเปลี่ยนปรับปรุงพัฒนารูปแบบวงดนตรี พัฒนาเป็นธุรกิจดนตรี   สนับสนุนส่งเสริมกันตรึมทั้งจัดกิจกรรมต่าง ๆ จัดเวทีเพื่อการแข่งขัน สร้างงานสร้างรายได้สร้างความมั่นคงให้กับตัวศิลปิน เพื่อให้สามารถดำรงอยู่สร้างสรรค์ผลงานเพลงพื้นบ้านที่ใช้ภาษาท้องถิ่นเขมรถิ่นไทย และอนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนคนรุ่นหลังสืบไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)