การศึกษาเปรียบเทียบเศรษฐกิจวัฒนธรรมชาวนาไทยและเวียดนาม บนฐานความคิดทุนทางสังคม

ผู้แต่ง

  • ฉลอง สุขทอง
  • สุริยะ ชนะชัย
  • เกา เวียด เ ฮึง

คำสำคัญ:

ชาวนา, เศรษฐกิจวัฒนธรรม, ทุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาบริบท ข้อมูลพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรม ทุนทางสังคมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจวัฒนธรรม ตลอดจนการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาชุมชนและวิกฤติการณ์ของชาวนาไทยและเวียดนาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม กลุ่มประชากรเป้าหมายเป็นชาวนาในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย และจังหวัดก่าเมา (Cà Mau) ประเทศเวียดนาม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเทศละ 60 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาบริบทและข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรมของชาวนาไทยและเวียดนาม พบว่า จังหวัดก่าเมา ประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) มีน้ำตลอดทั้งปีจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2-3 ครั้ง ส่วนจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนใต้ของประเทศไทย  สามารถผลิตข้าวหอมมะลิที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก เป็นพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ 1-2 ครั้งต่อปี ส่วนพื้นที่นาที่อยู่ในเขตชลประทานอ่างเก็บน้ำอำปึล สามารถปลูกข้าวได้ 2 ครั้งต่อปี ในด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรมของชาวนาไทยและเวียดนามหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตพบว่า มีฐานความคิดมาจากการที่เวียดนาม มีอาหารไม่เพียงพอจากภาวะสงครามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ขาดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำนาจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน หลังภาวะสงครามมีการทำนาในรูปแบบสหกรณ์นารวม ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้มีนโยบาย “โด๋ยเหม่ย” ทำให้ชาวนาได้สิทธิ์ในที่นา ทำให้ชาวนามีความใส่ใจในที่นาของตนเองและให้ความสำคัญในการผลิตมาก สำหรับประเทศไทย การผลิตข้าวมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมตามกระแสความต้องการของตลาด จากพื้นที่ศึกษาเกษตรกรปรับเปลี่ยนจากปลูกข้าวเคมีเป็นข้าวอินทรีย์ และใช้ภูมิปัญญาในการผลิตข้าว นโยบายรัฐเน้นข้าวอินทรีย์ ระบบนาแปลงใหญ่ ลดต้นทุนการผลิต และลดพื้นที่ปลูก การศึกษายังพบอีกว่า ทุนทางสังคมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวนาไทยและเวียดนามได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านสังคมและการเมือง ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยการสนับสนุนและความสัมพันธ์กับองค์การ นอกจากนี้ จังหวัดสุรินทร์มีปัญหาภัยแล้ง ชุมชนมีภูมิปัญญาและกลุ่มการเกษตรร่วมกันแก้ปัญหา โดยรัฐมีนโยบายประกันความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร ส่วนจังหวัดก่าเมา มีภัยพิบัติในพื้นที่ รัฐบาลได้จัดทหารหรือนักเรียนมาช่วยเหลือ แต่ชุมชนยังขาดกลุ่มที่เข้มแข็งที่ช่วยแก้ปัญหา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)