การบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาเคมีสภาวะแวดล้อม เพื่อพัฒนานักศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, ความพึงพอใจ, ผลการเรียนรู้, กิจกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ทักษะ 5 ด้านตามมาตรฐานการเรียนรู้ ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ด้วยกระบวนการ PAOR ประกอบด้วย การวางแผน (Plan : P) การปฏิบัติตามแผน (Act : A) การสังเกตตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observe : O) และการสะท้อนผล (Reflect : R) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือคือ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสังเกต ผลการสอบถามผู้เรียน พบว่า ผลการเรียนรู้ทักษะ 5 ด้าน ตามมาตรฐานการเรียนรู้จากการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในแต่ละด้านมีดังนี้ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้ฝึกความเสียสละ 2) ด้านทักษะความรู้ กิจกรรมที่เหมาะสมคือ การจัดการขยะ 3) ด้านทักษะทางปัญญากิจกรรมที่เหมาะสม คือ การแยกขยะ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คือ สามารถทำงานเป็นทีม และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสืบค้น กิจกรรมที่เหมาะสม คือ สืบค้นเนื้อหาและประชาสัมพันธ์ ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า นักศึกษาชอบกิจกรรมมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การจัดการขยะ สื่อเพื่อมหาวิทยาลัยสีเขียว นิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ และขยะรีไซเคิล นักศึกษาพึงพอใจมากต่อการบูรณาการการเรียนการสอนโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 4.45 หรือร้อยละ 89.24 สำหรับรายด้าน พบว่า ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาพึงพอใจมากด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านความพึงพอใจ ตามลำดับ สรุปว่าการใช้กิจกรรมมาบูรณาการในการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนได้ความรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมคุณธรรมที่ดี และเกิดทักษะ 5 ด้าน ตามมาตรฐานการเรียนรู้เนื่องจากนักศึกษาได้เรียนรู้กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมด้วยตนเอง