การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านเป็นผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ประมุข ศรีชัยวงษ์
  • ลักขณา สุกใส
  • นฤมล ภูสิงห์
  • อารีรัตน์ พัฒนชีวะพูล
  • กาญจนา สุขบัว

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อาหารพื้นบ้าน, ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน, การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านเป็นผลิตภัณฑ์สู่วิสาหกิจชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของผักพื้นบ้านบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน 2) ศึกษาแนวทางการแปรรูปอาหารจากผักพื้นบ้านเป็นผลิตภัณฑ์ทางอาหารชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและ 3) เพื่อพัฒนาต่อยอด เป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางอาหารจากผักพื้นบ้านทำการศึกษาวิจัยในพื้นที่คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านเขว้า อำเภอแก้งคร้อ และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้มีประสบการณ์ จำนวน 10 คน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 12 คน ผลการวิจัย ดังนี้ ศักยภาพของผักพื้นบ้านบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน มีผักพื้นบ้านที่มีศักยภาพตามความเหมาะสมจำนวน 11 ชนิด ได้แก่ ย่านาง  ใบหม่อน  กระเจี๊ยบ  ส้มป่อย  สะเดา ผักแขยงชะอม เตย ผักติ้วส้มยอดน้อยหน่า และ ผักอ่อมแซบ การศึกษาแนวทางการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผักพื้นบ้านเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลือกเฉพาะผักพื้นบ้านที่มีความเหมาะสมมาต่อยอดในการแปรรูปได้แก่ ย่านาง หม่อน ส้มป่อย เตยและหน่อไม้ ส่วนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เน้นการใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นในการดำเนินการ โดยทำการแปรรูป 4 ผลิตภัณฑ์ คือ 1) ผักพื้นบ้านผง 2) ผักพื้นบ้านแห้งเสริมรสอาหาร 3) หน่อไม้แห้งและ 4) ชุดแกงหน่อไม้กึ่งสำเร็จรูป การศึกษาและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผักพื้นบ้าน เป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตาดโตนจากการทดสอบใช้ย่านางผงและหม่อนผง เป็นส่วนประกอบอาหารพื้นบ้าน พบว่าปริมาณ 5 กรัม ต่อหนึ่งหม้อแกงขนาดเล็ก มีความใกล้เคียงกับการใช้ย่านางสด และยอดหม่อนสด มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)