สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญส่ง
  • จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบและเพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยคือผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 81 โรงเรียน จำนวน 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า t และการทดสอบค่า F

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตาม ตำแหน่งการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับอาเซียน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
  3. แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 พบว่า ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารทุกท่านควรให้ความสำคัญและสนับสนุน มีความกระตือรือร้น ทั้งการอบรมและการปฏิบัติ ประกาศนโยบายอย่างชัดเจน ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหาร ควรสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้และการอบรมพัฒนาตนเองในเรื่องอาเซียนให้รู้อย่างถ่องแท้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง ด้านการจัดกิจกรรมของสถานศึกษาสนับสนุนและกระตุ้นให้ครูเกิดการเรียนรู้และสนใจในการศึกษาอบรมเรื่องอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ด้านการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ควรจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นควรจัดตั้งชมรมครู ควรการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชมรมและตั้งเครือข่ายชมรมอาเซียนในทุกสถานศึกษา

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อม ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

          The research aimed to study, compare and explore the guidelines for the learning management for the ASEAN Community of the schools under the Office of UbonRatchathani Secondary Education Service Area 29. The samples used in the research were 424 school administrators and teachers from 81 schools. The research instrument was a five-rating scale questionnaire of 66 items with a confidence value equivalent to 0.98. Statistics used in data analysis were percentage, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were as follows.

  1. The learning management of the schools under study was found to be at a high level.
  2. A comparison of the learning management for the ASEAN Community of the schools in the study as classified by positions, experiences derived from training on ASEAN and the school size showed no difference.
  3. The guidelines for the learning management for the ASEAN Community were as follows. On administration : administrators concerned should provide necessary support, be enthusiastic in training and implementation. Learning management : the administrators should give encouragement to learn and training on ASEAN-related issues. On the activity management: teachers should be encouraged to learn and give interest in ASEAN-related affairs in a concrete manner. On activity relations: there should be activity relations with other agencies and organizations, the ASEAN networks and clubs should be established.

Keywords : Learning Management, Prepare, ASEAN Community, Secondary Education Service Area 29.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)