การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อศึกษาการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำเสนอผ่านการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิควิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ปราชญ์พื้นบ้าน ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์เป็นภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่นที่สืบทอดมาแต่โบราณของคนเขมรเมืองสุรินทร์ อันได้แก่ ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและการแสดงเพื่อความเพลิดเพลิน คือ 1) ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมเครื่องเงินเป็นภูมิปัญญาที่แฝงปรัชญาในการดำเนินชีวิตเอาไว้ ตามการใช้สอยและความเชื่อว่าเป็นของขลัง วัตถุมงคล เสริมความสิริมงคลแก่ชีวิต 2) ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาที่การทำเครื่องนุ่งห่มที่มี เอกลักษณ์ของลวดลายต่าง ๆ มีความหมายเฉพาะถิ่น 3) ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงกันตรึมพื้นบ้าน ได้รับการสืบทอดมาแต่เขมรโบราณภูมิปัญญานี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวเขมรสุรินทร์เท่านั้น เนื่องจากการละเล่นพื้นบ้านนี้จะต้องใช้ภาษาท้องถิ่นในการขับร้องหรือการละเล่น และ 4) ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง การเลี้ยงช้างเพื่อฝึกหัดช้างให้มีความสามารถด้านการแสดงเพื่อนำเสนอเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ทางการท่องเที่ยว
การศึกษาการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นำเสนอผ่านการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์พบว่า การจัดการหรือกิจกรรมที่นำเสนอภูมิปัญญาจะต้องสอดคล้องกับลักษณะทางภูมิปัญญาทั้งที่เป็นรูปธรรมและที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมเครื่องเงินการจัดการหรือการนำเสนอภูมิปัญญาด้านนี้จะต้องแสดงให้ทราบถึงความเป็นมา และ
ความสำคัญ เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ผ่านศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าในชุมชนและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมผ้าไหม ได้จัดในลักษณะของศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เรียกว่า “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ที่เก็บรวบรวมความรู้ หรือองค์ความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมผ้าไหมภายในชุมชนภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงกันตรึมพื้นบ้าน นำมาจัดการแสดงเพื่อต้อนรับทางการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวได้รับชมการแสดงกันตรึมพื้นบ้านในนาม “หมู่บ้านวัฒนธรรมดงมัน” และภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง ได้มี การจัดเป็นศูนย์คชศึกษาได้มีพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาวัฒนธรรมกวยเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์
The purposes of the research are 1) study of local wisdoms for cultural tourism in Surin province 2) Study the local wisdom management for cultural tourism in Surin province. The qualitative research methodology was used in this study by using interview form and observational form. There are representative samples of the study who are Local Philosophers, Leaders and specialist of the community.
The study results were as follows :
The qualitative research methodology is employed in this study, data are collected by in-depth interviews and observations. The participants of the researchinclude local philosophers, leaders and specialists in the community. According to the study of the local wisdoms for cultural tourism, the results reveal that the local wisdoms used for cultural tourism are occupational and traditional performance wisdoms.
These wisdoms are obviously related to the way of life of people in the community and inherited from ancient Khmer people in Surin province, namely, 1) the wisdom of silverware handicraft production which indicates the philosophy to life and the belief that amulets bring good lucks to holders, 2) the wisdom of unique local handmade silks 3) the wisdom of local performance called “Kan Truem” which is found in Surin province only, and 4) the wisdom of elephant fostering culture which aim at promoting the local tourism. In addition, for the study of the local wisdom management presented through cultural tourism, the findings show that the presented activities are consistent with both concrete and abstract aspects of the wisdoms. For instance, the management in the silverware handicraft production indicates its background, significance and identity trough the tourism product selling centers in Surin province. For the handmade silks, they are displayed as the “Living Museum” which is the study center on the wisdom of handmade silks in the community. Also, the wisdom of local performance or “Kan Truem” is presented for tourists in the form of “Dong Man Cultural Village”. Furthermore, the wisdom of elephant fostering culture demonstrates the way of life of Kui people through
activities shown in the “Elephant Study Center”
Keywords : Wisdoms, Local Wisdoms for Cultural Tourism, Surin Province