การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ศูนย์กลาง
  • จิรายุ ทรัพย์สิน
  • วันชัย สุขตาม

คำสำคัญ:

ศิลปกรรมมอญ, สื่อการเรียนรู้, ภูมิปัญญา, ชุมชนไทยเชื้อสายมอญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม
  2. ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พบว่า การปฏิบัติงานยังขาดกฎระเบียบในการบังคับที่ชัดเจนรวมถึงการขาดหลักนิติธรรมของเจ้าหน้าที่บางคน ผู้นำชุมชนและบุคลากรบางส่วนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นยังขาดความโปร่งใสและขาดความน่าเชื่อถือประชาชนขาดความสามัคคีในหมู่คณะรวมถึงการขาดความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อส่วนร่วม และมีการบริหารจัดการงบประมาณที่สิ้นเปลือง ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้หลักนิติธรรมกับเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรรวมถึงกลุ่มผู้นำชุมชน ควรมีการออกมาชี้แจงกระบวนการปฏิบัติงานและการใช้งบประมาณต่าง ๆ เพื่อความโปร่งใสควรมีค่าตอบแทนในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อจูงใจประชาชนให้เกิดความสนใจควรจัดให้มีการออกสำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนร่วมถึงการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ และควรมีการสำรวจปัญหาในชุมชนเพื่อลดปริมาณการใช้งบประมาณที่สิ้นเปลืองในการแก้ไขปัญหาที่ไม่เข้าใจถึงปัญหานั้น ๆ

คำสำคัญ : การบริหารจัดการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด หลักธรรมาภิบาล

          The research study was Management Surin provincial administration
organization authority based on good governance aimed to 1) study management Surin provincial administration organization authority based on good governance and 2) study suggestions of management Surin provincial administration organization authority based on good governance. In this study, survey research and field study were collected data from people who lived in around Surin provincial administration organization authority. Questionnaires - both closed and open-ended questions were quested through 400 by cluster samplings. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, texts analysis, and context clues.

          The results were revealed as followings:

  1. Overall the efficiency pattern for management Surin provincial administration organization authority based on good governance in ASEAN was found at high level. While it was considered in each aspect; the efficiency pattern for management Surin provincial administration organization authority based on good governance in ASEAN was found at high level. It could be ordered from the most to least as
    followings: rule of law, morality, transparency, worthiness, responsibility, and
    participation.
  2. Problems regarding the efficiency pattern for management Surin provincial administration organization authority based on good governance in ASEAN found that there were not clearly rule of law for operation by some authorities. The
    community leaders and some personnel were acted by inappropriate behavior.
    Local government offices also were lack of transparency and incredibility. People were not unity among themselves including the lack of assistance from the
    authorities. Lack of responsibility was involved to participate in public. Moreover, management was absolutely estimated consumption.

          As for suggestions, it found that there should be organized a seminar on the rule of law to officers and related personnel. There should be the assessment of the performance of staff and personnel, including a group of community leaders. There should have come out to clarify the budget execution processing and to transparency. There should have paid to attend the event in order to attract public attention. There should be provided to explore the lives of people, including support for various projects. And the issue should be explored in order to reduce the budget wastage in resolving problems that do not understand the issue.

Keywords: Management, Provincial Administration Organization Authority, Good Governance

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)