การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนานาชาติพีบิสส์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนานาชาติพีบิสส์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนานาชาติพีบิสส์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่องชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนานาชาติพีบิสส์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง
(Pre-Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เกรด 7 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือการวิจัย คือ 1) ชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน
2) แผนการจัดการเรียนรู้ชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน และ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน หาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา
โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) มีค่า IOC เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน โดยการทดสอบสมติฐานแบบการทดสอบ T-test dependent และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย 1) การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน พบว่า มี 8 ชุดฝึกทักษะ ได้แก่ 1.1) กีตาร์พื้นฐาน 1.2) เฟรตบอร์ดกีตาร์ 1.3) ทฤษฎีดนตรีพื้นฐานสำหรับปฏิบัติกีตาร์ 1.4) คอร์ดในบันไดเสียง C จังหวะ 1.5) คอร์ดในบันไดเสียง G และจังหวะ 1.6) การดำเนินคอร์ด (I-vi-ii-V) 1.7) การดำเนินคอร์ด (IV-ii-V-I) และ 1.8) ตัวอย่างเพลงสมัยนิยม 2) ชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน พบว่า มีประสิทธิภาพที่ 81.30/88.20 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน ระดับนัยสำคัญ 0.05 การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีตาร์ขั้นพื้นฐานสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดนตรีในเครื่องมืออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กมลธรรม เกื้อบุตร. (2554). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของกีรตินันท์ สดประเสริฐ.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 165-183.
ชานนท์ จงจินากูล. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติกลองชุดตามแนว
คิดของเดวีส์ รายวิชาดุริยางค์สากล 2 สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ดศ.ม. (ภาษาไทย).
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2540). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกร ชาคโรทัย, และ นัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2560). การพัฒนาชุดการสอนกีตาร์เบื้องต้น
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ แผนกสามัญหญิง
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2), 32-40.
ตติ แซ่แต่, พิมลมาศ พร้อมสุขกุล, ชาลินี สุริยนเปล่งแสง, และ วรสรณ์ เนตรทิพย์. (2564).
การสร้างชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล
โรงเรียน วัดยานนาวาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสาร
ศิลปกรรมบูรพา, 24(1), 159-169.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
พงศธร ห้องแซง, และ คมกริช การินทร์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะประกอบการเรียน
การสอนกีตาร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 292-300.
วีระ ไทยพานิช. (2548). แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมนึก อุ่นแก้ว. (2563). ทฤษฎีดนตรีแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 10). อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษร
การพิมพ์.
สันติ มุสิกา. (2565). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีตาร์เบื้องต้น (Guitar Basic)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร. วารสาร มจร. อุบล
ปริทรรศน์, 7(2), 2009-2022.
สิรวิชญ์ คิมหการ. (2551). เรียนลัดหัดเล่นกีตาร์ ด้วย Guitar Pro. กรุงเทพฯ: วิตตี้ กรุ๊ป.
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์, และ อินทิรา รอบรู้. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้น
พื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพวิทยา. วารสารชุมชน
วิจัย, 12(3), 200-210.
อรรถวัตร ทิพยเลิศ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการปฏิบัติ
กีตาร์ตามแนวคิดของเดวี่ส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ ค.ม. (ภาษาไทย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of Education Objectives, Handbook 1: Cognitive
Domain. Boston: David Mekey.
Cambridge Assessment International Education. (2019). Cambridge Lower
Secondary Music Curriculum outline. Cambridge University. https://
www.cambridgeinternational.org/Images/554153-cambridge-lower-
secondary-curriculum-outline-music.pdf
Chapman, R. A. (1993). The Complete Guitar. London: Dorling Kindersley
Publishing Inc.
Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw - Hill.
Fitz – Gibbon, C. T. & Morris, L. L. (1987). How to design a program evaluation.
London: Newbury Park.
Harrow, Anita J. (1972). A Taxonomy of the Psychomotor Domain: A Guide
for Developing Behavioral Objectives. New York: David McKay Co.
Piaget, J. (1936). Origins of intelligence in the child. London: Routledge &
Kegan Paul.