จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ

Main Article Content

ณภัทร เชาว์นวม
อุเทน วงศ์สถิตย์

บทคัดย่อ

จารึกเตลากาบาตูเป็นจารึกสำคัญหลักหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย จารึกขึ้นในช่วงต้นของการก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อของชนชั้นปกครองโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์และจากเนื้อหาสารัตถะของจารึก ปรากฏผลการศึกษาดังนี้
ผลการศึกษาวิเคราะห์รูปลักษณ์ของจารึกเตลากาบาตู สันนิษฐานว่ารูปลักษณ์ของจารึกเตลากาบาตูสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพิธีถือน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ประติมากรรมหัวนาคทั้งเจ็ดตรงส่วนบนของจารึกเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ด้านอำนาจ รูปลักษณ์ของจารึกจึงปรากฏคติความเชื่อเรื่องบุญญาธิการและการแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ ที่เป็นดังสมมติเทพตามคติฮินดู ผลการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสารัตถะของจารึกเตลากาบาตู พบว่าเนื้อหาสาระสำคัญของจารึกปรากฏคำสาปแช่งผู้คิดและกระทำการทรยศต่อกษัตริย์ เนื้อหาสาระของจารึกสะท้อนคติความเชื่อเรื่องขนบการแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่มีต่อผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยใช้คำสาปซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติเป็นเครื่องมือสร้าง ความหวาดกลัวให้แก่ผู้คิดทรยศ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจารึกหลักนี้สะท้อนคติความเชื่อในหลายมิติ ได้แก่ ศาสนา อำนาจบารมีของกษัตริย์ รวมถึงอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติแห่งคำสาป นับได้ว่าจารึกเตลากาบาตูเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ผ่านการออกแบบรูปลักษณ์และสลักถ้อยคำเพื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างความศรัทธาและรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจของกษัตริย์ในยุคต้นแห่งการสถาปนารัฐอาณาจักรแห่งนี้

Article Details

How to Cite
เชาว์นวม ณ., & วงศ์สถิตย์ . อ. . (2023). จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 15(1), 237–255. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/260058
บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมการส่งออก. (2555). คู่มือการค้าและการลงทุนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย.

กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์.

กัญญารัตน์ เวชศาสตร์. (2559, มกราคม-เมษายน). มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท.

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์

สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1099-1116.

ซี. แมรี เทิร์นบูลล์. (2540). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน [A History of

Malaysia, Singapore and Brunei] (ทองสุก เกตุโรจน์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.

ลักษมณ์ บุญเรือง. (2561, มกราคม-กันยายน). หลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมศรีวิชัยใน

คาบสมุทรภาคใต้. วารสารข่วงผญา, 13(1), 132-140.

ศานติ ภักดีคำ. (2550). ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

อิมรอน ซาเหาะ, และ ยาสมิน ซัตตาร. (2559). แนวคิดสันติภาพและการจัดการความขัด

แย้งในอิสลาม. Kasetsart Journal of Social Sciences, 37(3), 333-344.

Abdur, R. (2017). The Kingdom of Sriwijaya in The Development

of Islamic Civilization and The Economy on Nusantra Before 1500

AD. Journal old Malay Islamic Studies, 1(1), 39-49.

Alnoza, M. (2020). Serpent Sculpture on Telaga Batu Inscription: An Interpretation

Based on Peirce’s Semiotic Approach. Berkala Arkeologi, 40(2), 267-

Boulay, R.A. (1999). Flying Serpents and Dragons: The Story of Man’s

Reptilian Past. California: The Book Tree.

Coedès, G. (2014). Prasasti berbahasa Melayu Kerajaan Sriwijaya. Jakarta:

Komunitas Bambu.

Coedès, G. & Damais, L. Ch. (1992). Sriwijaya-History, Religion & Language of

an Early Malay Polity. Kuala Lumpur: Art & Printing Sdn.

De Casparis, J.G. (1956). Selected Inscriptions from the 7th to the 9th

Century A.D. Bandung: Masa Baru.

Gunawan, K. (2009, 26 August). Srivijaya_Empire.JPG. https://en.wikipedia.

org/wiki/ Srivijaya#/media/File:Srivijaya_Empire.svg

Gunawan, K. (2010, 24 August). Telaga_Batu_inscription.JPG. https://

worddisk.com/wiki/ Telaga_Batu_inscription/

Hannigan, T. (2015). A Brief History of Indonesia. Sultans, Spices, and

Tsunamis. The Incredible Story of Southeast Asia's Largest Nation.

Tokyo: Tuttle Publishing.

Herman, K. (1993). “Kadatuan Sriwijaya”– Empire or Kraton of Sriwijaya M.A.

Reassessment of the Epigraphical Evidence. l'École française

d'Extrême-Orient, 80(1), 159-180.

Izza, N. A. (2019). Sapatha Prasasties of Sriwijaya: Study of Foucault Panoptisism.

Jurnal Ilmu Humnicra, 3(1), 110-123.

Kartakusuma, R. (1993). Dapunta Hiyam Sri Jayanasa: Kajian Atas Makna Dari

Prasasti Telaga Batu. Dalam Amerta, 13(1), 17-32.

Leyten, J. (2017). The Capital of Sriwijaya. Sejarah Lengkap Kerajaan Mataram

Islam. Academia Accelerating the world’s research. https://www.

academia.edu/34273392/ The_Capital_of_Srivijaya

Marcus, M. F. (1965). Buddha Sheltered by Mucalinda. The Bulletin of the

Cleveland Museum of Art, 52(7), 185- 193.

Sepriady, J. (2020, 14 June). TELAGA BATU BUKTI KERAJAAN SRIWIJAYA ITU

ADA || VLOG PESERTA DIDIK SMA MAITREYAWIRA PALEMBANG.

https://www.youtube.com/watch?v=GzUhluFdG4I&t=2s

Utomo, B. B. & Soejatmi, S. (2009). Treasures of Sumatra. Jakarta: Direktorat

Jenderal Kebudayaan.

XA-1 Kanisius'22. (2020, 17 February). Prasasti Telaga Batu. https://www.

youtube.com/watch?v= 37mDXKPpb-k.

บุคลานุกรม

กุสุมา รักษมณี (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณภัทร เชาว์นวม (ผู้สัมภาษณ์). ณ ห้องสนทนาเฟซบุ๊ก.

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565.

ณัฐพล จันทร์งาม (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณภัทร เชาว์นวม (ผู้สัมภาษณ์). ณ ห้องสนทนาเฟซบุ๊ก.

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565.