การเลือกภาษาและการธำรงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์มอญและชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุทธาทิพย์ อร่ามศักดิ์

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกภาษา เปรียบเทียบการเลือกภาษา และวิเคราะห์วิธีการธำรงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์มอญและกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำที่อาศัยอยู่ในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิธีวิจัยใช้แบบผสมผสานเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 3 ช่วงอายุ คือ 14-34 ปี 35-55 ปี และช่วงอายุ 56 ปีขึ้นไป จำนวนช่วงอายุละ 10 คน นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเลือกภาษาของสองกลุ่มชาติพันธุ์แตกต่างกัน กลุ่มชาติพันธุ์มอญ
ช่วงอายุ 14-34 ปี ร้อยละ 100 เลือกใช้ภาษาไทยในทุกแวดวงยกเว้นแวดวงวัด ในขณะที่ช่วงอายุ 35-55 ปี เลือกใช้ภาษามอญในแวดวงวัดและครอบครัว และ กลุ่มช่วงอายุ 56 ปีขึ้นไปเลือกใช้ภาษามอญในทุกแวดวง ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำพบว่า ช่วงอายุ 14-34 ปี
มีแนวโน้มเลือกทั้งภาษาไทยและภาษาไทดำในทุกแวดวงเช่นเดียวกับคนรุ่นอายุมาก แต่มีสัดส่วนการเลือกใช้ภาษาไทดำต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบการเลือกภาษาของทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ช่วงอายุ 14-34 ปี เลือกใช้ภาษามอญเฉพาะแวดวงวัดเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ไททรงดำเลือกใช้ภาษาไทดำในทุกแวดวง กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ช่วงอายุ 35-55 ปี เลือกใช้ภาษามอญเฉพาะในแวดวงวัดกับครอบครัว แต่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ช่วงอายุ 35-55 ปี เลือกใช้ภาษาไทดำในทุกแวดวง ภาษาไทดำยังคงใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากกว่าในชีวิตประจำวัน 2) วิธีการธำรงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 2 มีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กลุ่มชาติพันธุ์มอญมีปัจจัยการสนับสนุนให้เกิดการธำรงภาษา คือ ทัศนคติและบทบาทภาษาในชีวิตประจำวัน ในขณะที่การธำรงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำมีปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการธำรงภาษา คือ ทัศนคติ ความเป็นปึกแผ่น การตระหนักรู้คุณค่าภาษา ทุนภาษา และ ลักษณะความคล้ายคลึงกับภาษาไทย ปัจจัยเหล่านี้จึงควรได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังจากทุกชุมชนภาษา เพื่อเก็บรักษาให้ภาษาของกลุ่มชาติพันธ์ุดำรงอยู่ได้ต่อไป และ
ลดความเสี่ยงต่อการเผชิญภาวการณ์สูญภาษาที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งข้อค้นพบบ่งชี้ว่า
การพัฒนาทางเศรษฐกิจควรสอดคล้องไปกับการพัฒนาทางภาษาและวัฒนธรรม เนื่องจากทัศนคติที่ดีจะสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มชาติพันธุ์ในที่สุด

Article Details

How to Cite
อร่ามศักดิ์ ส. (2022). การเลือกภาษาและการธำรงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์มอญและชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 14(2), 50–79. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/257854
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ทองแก้ว. (2561, มกราคม-มิถุนายน). ชุมชนดอนมะลิ: ศูนย์กลางวัฒนธรรมชาว

ไทยทรงดำสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 176-192.

จิรวรรณ พรหมทอง, และ สุวิมล เวชวิโรจน์. (2562, กันยายน-ธันวาคม). เครือข่ายความเข้มแข็ง

ด้านการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยทรงดำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตร

ปริทรรศน์, 11(3), 58-70.

รามัญคดี. (23 มีนาคม 2560). หมู่บ้านมอญสุราษฎร์ธานีที่อพยพมาจากสมุทรสาคร. เฟซบุ๊ก.

https://web.facebook.com/RamannMon/posts/3648734828534676/

สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2560). รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2560: สุราษฎร์ธานี.

สุราษฎร์ธานี: สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, และ พิสิฐ นิลเอก. (2563, มิถุนายน-ธันวาคม). การตั้งถิ่นฐานของคน

เมืองใน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและ

สังคมศาสตร์, 6(2), 63-72.

อธิษฐาน จิตรหลัง. (2555). การธำรงและการแปรคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ของผู้พูดสาม

ระดับอายุในอาชีพประมงของชุมชมบ้านหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม อำเภอ

ปะเหลียน จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อัสมาณี ฮะกือลิง, รีดาห์ วานิ, รอฮายา เยาะ, และ วรเวทย์พิสิษ ยศศิริ. (2561). การธำรง

ภาษามลายูถิ่นปัตตานีของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในชุมชนบ้านลำลอง อำเภอนาทวี

จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9,

(น. 1-12). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Buddharat, C., Hull, J., & Keyuravong, S. (2019). Language maintenance in a

rural community of Southern Thailand: Ban Khiriwong. Kasetsart

Journal of Social Sciences, 40(1), 172–178.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and Conducting Mixed

Methods Research. Los Angeles, CA: Sage.

Rosenthal, T. (2018). Speaking of tradition: how the Ngoni talk about value

maintenance and change. Journal of Multilingual and Multicultural

Development, 39(9), 776-788.