Machiavelli Thai Politics of Ruler

Main Article Content

Pawida Rungsee

Abstract

นิโคโล มาคิอาเวลลี เกิดเมื่อ ค.ศ. 1469 เป็นชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ได้รับราชการเป็นนักการทูตในรัฐบาลของเปียโร โซเดลรินี ใน ค.ศ. 1494-1512 แต่เมื่อรัฐบาลของเปียโร โซเดลรินี ถูกโค่นล้มจากการทำรัฐประหารของกลุ่มเมดีซี ทำให้มาคิอาเวลลีต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในชนบทและเขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือหนังสือเรื่อง The Prince ซึ่งน่าจะถูกเขียนขึ้นช่วงปลาย ค.ศ. 1513 หรือต้นปี ค.ศ. 1514 (ปิยะนันท์ จันทร์แขกหล้า, 2563) เพื่อแนะนำการปกครองให้กับผู้ปกครองกลุ่มเมดิชีและหาโอกาสให้ตัวเขากลับมารับตำแหน่งสำคัญอีกครั้งแต่หนังสือเล่มนี้กลับได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1532 หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว


เนื้อหาในหนังสือเรื่อง The Prince ตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทที่ 11 เกี่ยวกับลักษณะของรัฐประเภทต่าง ๆ ส่วนเนื้อหาในบทที่ 12 และ 13 เกี่ยวกับลักษณะทางการทหาร ขณะที่ตั้งแต่บทที่14 เป็นต้นมานั้น เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นบทที่ว่าด้วยการแนะนำหรือการกล่าวถึงสิ่งที่เจ้าผู้ปกครองควรจะกระทำหรือคุณสมบัติที่เจ้าผู้ปกครองพึงมีเพื่อการได้มาและรักษาไว้ซึ่งรัฐโดยเจ้าผู้ปกครอง ประเด็นของการ “ควบคู่ความชั่วร้ายเข้ากับคุณธรรม” และ “การใช้ความทารุณโหดร้ายหรือความชั่วร้ายอย่างดี” ถือเป็นแกนหลักของเนื้อหาที่เกี่ยวกับคุณสมบัติที่เจ้าผู้ปกครองพึงมีในทุกบท โดยเฉพาะในบทที่ 14-23 (เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธุ์, 2561) ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งในบทที่ 17 ว่า


          “เจ้าผู้ปกครองจึงไม่ควรที่จะเป็นกังวลกับชื่อเสียงในทางที่ไม่ดีว่าเป็นคนทารุณโหดร้ายในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ข้าแผ่นดินของเขามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความจงรักภักดี” (มาคิอาเวลลี, 2555)


เนื้อหาที่ปรากฎในหนังสือเรื่อง The Prince ทำให้มาคิอาเวลลีถูกมองว่าเป็นคนโหดร้าย อำมหิตเมื่อเขานำเสนอเรื่อง “ชุดคุณธรรม” ที่ต่างกันระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นถูกปกครอง คำว่า “รัฐ” มาก่อนสิ่งอื่นใด ผู้ปกครองก็สามารถผิดสัจจะหรือผิดคุณธรรมได้ทันทีหากนั่นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐชาติ ว่ากันว่าหนังสือเล่มนี้เป็นตำราที่ชนชั้นปกครองทั่วโลกต้องอ่าน (ปาณิศ โพธิ์ศรีวังชัย, 2562) และมีการแปลหนังสือออกมาหลายภาษาให้คนทั่วโลกได้อ่านรวมถึงในภาษาไทยด้วย การที่ประชาชนรู้เท่าทันผู้ปกครองย่อมเป็นสิ่งสำคัญเพราะการปกครองส่งผลกระทบต่อประชาชน


ผู้ศึกษาด้านรัฐศาสตร์จำนวนมากรู้จักหนังสือเรื่อง The Prince ของมาคิอาเวลลี จากการแปลตัวบทของสมบัติ จันทรวงศ์ และแปลคำว่า The Prince ว่าหมายถึง “เจ้าผู้ปกครอง” จากนั้นก็จะนำตัวบทที่ได้อ่านมาทำความเข้าใจต่อวิธีการปกครองของผู้ปกครอง แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่านอกเหนือจากนั้นแล้วแนวคิดของมาคิอาเวลลีมีที่มาที่ไปอย่างไรในสังคมไทย หนังสือเรื่องมาคิอาเวลลี การเมืองไทยของเจ้าผู้ปกครองซึ่งแปลงมาจากวิทยานิพนธ์ของกานต์ บุญยะกาญจน จะทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับพัฒนาการแนวคิดของมาคิอาเวลลีที่มีต่อสังคมไทยได้ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
Rungsee, P. (2022). Machiavelli Thai Politics of Ruler. Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University, 14(1), 252–264. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/257228
Section
Book Review

References

กานต์ บุญยะกาญจน. (2562). มาคิอาเวลลี การเมืองไทยของเจ้าผู้ปกครอง (พิมพ์ครั้งที่

. กรุงเทพฯ: มติชน.

จักรพงศ์ รัตนวงศ์, โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์, และ ลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต. (2563).

ผลการศึกษาคุณธรรมของผู้ปกครองของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามกรอบ

ทรรศนะของ นิคโคโล มาเคียเวลลี่. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สกลนคร, 17(77), 177 - 187.

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2562, กุมภาพันธ์ 15). The Prince 2019: มาคิอาเวลลีกับ

การเมืองไทย เมื่อกลอำนาจอยู่ในมือพ่อมด. https://www.the101.world/

the-prince-2019.

ปิยะนันท์ จันทร์แขกหล้า. (2563). หนังสือเจ้าผู้ปกครอง: The Prince. วารสาร

รัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(1), 215 - 219.

เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์. (2561). “คุณธรรม” ใน “เจ้าผู้ปกครอง”ของมาคิอาเวลลี.

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1), 37 - 60.

มาคิอาเวลลี, เอ็น. (2555). เจ้าผู้ปกครอง [The Prince] (พิมพ์ครั้งที่ 8). (สมบัติ จันทรวงศ์,

ผู้แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.