ลิเกป่าเมืองตรัง: ภูมิหลังและการปรับตัวในยุคปัจจุบัน -

Main Article Content

สันติชัย แย้มใหม่
ศิริอร เพชรภิรมย์
สรัญ เพชรรักษ์
สมทรง นุ่มนวล

บทคัดย่อ

 บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของลิเกป่าเมืองตรังและศึกษาการปรับตัวในโลกยุคปัจจุบันของลิเกป่าเมืองตรัง เก็บข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์แบบเจาะจงจากผู้ที่มีความรู้ในศิลปะการแสดงลิเกป่า จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า การเกิดลิเกป่าเมืองตรังและจังหวัดแถบฝั่งทะเลอันดามัน มีอายุไม่น้อยกว่า 120 ปี มีรูปแบบการจัดการแสดงประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การโหมโรงและการกาศครู 2) การบอกชุด 3) การออกแขกแดง 4) การแสดงลิเกป่า 5) การแสดงระบำนางฟ้อน 6) การแสดงนิยาย และ 7) การลาโรง ตัวละครหลักของลิเกป่า ได้แก่ แขกแดง นางยายี และนายสมาด ผลการศึกษาการปรับตัวในปัจจุบันพบว่า ลิเกป่าเมืองตรังได้ปรับตัวใน 3 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1) รูปแบบการแสดง 2) เครื่องดนตรี และ 3) การสร้างเครือข่ายทางสังคม
โดยด้านการแสดงนั้นพบว่ามีการลดระยะเวลาและเนื้อหาในการแสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของงานด้านดนตรี มีการประยุกต์ใช้เครื่องดนตรีสากลร่วมกับเครื่องดนตรีดั้งเดิม ทั้งนี้เพื่อความสนุกสนาน เหมาะสมกับยุคสมัย และ ด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคม พบว่า มีการสร้างเครือข่ายผ่านทางสัมพันธภาพส่วนบุคคลและผ่านทางช่องทางออนไลน์
ในอนาคตสังคมโลกจะขับเคลื่อนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นลิเกป่าจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนเพื่อดำรงรักษาศิลปะการแสดงลิเกป่าให้อยู่คู่สังคมภาคใต้สืบไป

Article Details

How to Cite
แย้มใหม่ ส., เพชรภิรมย์ . ศ. ., เพชรรักษ์ ส. ., & นุ่มนวล . ส. . (2022). ลิเกป่าเมืองตรัง: ภูมิหลังและการปรับตัวในยุคปัจจุบัน: -. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 14(1), 190–214. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/254741
บท
บทความวิชาการ

References

กิติมา ทวนน้อย. (2551). การปรับตัวของลิเกป่าในสังคมปัจจุบัน: กรณีศึกษาคณะ

เด่นชัยสงวนศิลป์. ทักษิณคดี, 7(2), 148 - 149.

จารุนันท์ แก้วเข้ม, ประทีป ไชยแจ่มจันทร์, และ เยาวลักษณ์ ศักดิ์ศรี. (2527). การศึกษา

เกี่ยวกับลิเกป่าศิลปะการแสดงภาคใต้. ครุศาสตรบัณฑิต โครงการอบรม

ครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยครู

สุราษฎร์ธานี.

ทรูปลูกปัญญา. (2564, สิงหาคม 6). พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊).

https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/19558-029821.

ธีรวัฒน์ ช่างสาน. (2556). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกป่าในจังหวัด

นครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 8(1), 79 - 80.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2553). 100 เรื่องเมืองใต้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ภาณินี อนุกูล. (2556). การจัดการเพื่อสงวนรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน: ศึกษากรณี

ลิเกป่าคณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์ จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหาร

งานวัฒนธรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภูเก็จอันดามันนิวส์. (19 พฤษภาคม 2560). ทต. รัษฎาจัดงานวันรำลึก “พระยารัษฎานุ

ประดิษฐ์มหิศรภักดี” (คอซิมบี้ ณ ระนอง) [อินโฟกราฟิก]. เฟซบุ๊ก. https://

www.facebook.com/Phuketandamannews. FC/

posts/1361448670616657.

บุคลานุกรม

ดารณี ปิ่นกุมภี (ผู้ให้สัมภาษณ์) สันติชัย แย้มใหม่ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 4

ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564.

ประสิทธิ์ คงแก้ว (ผู้ให้สัมภาษณ์) สันติชัย แย้มใหม่ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 123 หมู่

ที่ 5 ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564.

หฤษฎ์ คงแก้ว (ผู้ให้สัมภาษณ์) สันติชัย แย้มใหม่ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 5

ตำบลคลองลุ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564.