จิตตปัญญากับการพัฒนาคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 : นักศึกษาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
จิตตปัญญาเป็นปัญญาที่มีฐานมาจากจิตซึ่งได้รับการบ่มเพาะอย่างดีแล้วผ่านกระบวนการใคร่ครวญด้วยใจในระดับเหนือสำนึกจนเกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ เห็นการผสานเชื่อมโยงอย่างเป็นภราดรภาพระหว่างตนเอง ผู้อื่น สังคมและสิ่งแวดล้อมอันเป็นเหตุให้เกิดความอ่อนโยนภายในที่นำไปสู่ความอ่อนน้อม เคารพและให้เกียรติความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคลผ่านการบูรณภาพของความรักและเมตตาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพชีวิตกอปรกับมีความเชื่อมั่นในศักยภาพที่จะถอดถอนตัวตนในระดับจิตใต้สำนึกที่คับแคบเห็นแก่ตัวอันเป็นรากเหง้าของความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาเพื่อขยายมิติแห่งความสำนึกรู้ในการอยู่ร่วมกันที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นเป้าหมายและพร้อมลงมือกระทำเพื่อยังการเปลี่ยนแปลงในทางที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นแก่องค์กร สังคมและโลกการเรียนรู้แนว “จิตตปัญญา” จึงเป็นไปเพื่อปลุกการตื่นรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะภายในตัวมนุษย์จนนำไปสู่ปัญญาที่กระจ่างชัดเกิดการปฏิวัติจิตที่คับแคบสู่จิตที่กว้างใหญ่ไพศาลด้วยมิตรภาพแห่งความกรุณาและเกื้อกูล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาที่
ส่งผลต่อความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของนิสิตครู มหาวิทยาลัย
พะเยา. Journal of Community Development Research (Humanities
and Social Sciences). 10(4), 93-94.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, และอดิศร จันทรสุข. (2559). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อ
การเปลี่ยนแปลง : คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
ภูสายแดด.
ประเวศ วะสี. (2550). มนุษย์กับการเข้าถึงความจริงสูงสุด ความจริง ความดี ความงาม.
กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.
ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มาตา.
มนตรี หลินภู. (2562). ครูกับการแนะแนวในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา. 3(2), 191.
สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2563). จิตตปัญญากับการจัดการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก http://edu.psru.ac.th/2011/pdf/Jitta.pdf [2563, พฤษภาคม 7].
สมหมาย ปวะบุตร. (2558). เอกสารประกอบการสอน ชุดวิชาการพัฒนาความเป็นครู
วิชาชีพ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศิรประภา พฤทธิกุล. (2553). จิตตปัญญาศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ 22(1), 4.
วันทนีย์ นามสวัสดิ์. (2557). ผลการใช้จิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความ
เป็นครูสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. 8(1), 9.
วิจักขณ์ พานิช. (2548). จิตผลิบานอ่อนโยนต่อชีวิต อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ การเรียนรู้
ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
Ariyabhorn Kuroda. (2014). Contemplative Education Approaches to
Teaching Teacher Preparation Program. Procedia Social and
Behaviour Sciences, Published by Elsevier Ltd, [Online]. Retrieved
from http://sciencedirect.com. [2020, October 7].
Maria Impedovo, and Sufiana Khatoon Malik. (2016). Contemplative
Practice for Teacher Students : Should It Be Included in Teaching
Training Curriculum. [Online]. Retrieved from https:// researchgate.
net/publication/312580352_Contemplative_Practice_for_Teacher_
Students_Should_It_Be_Included_in_Teaching_Training_Curriculum.
, October 9].
Shani Singh. (2017). Contemplative Pedagogy and Practices In Higher
Education : A Tool for Transformative Learning, Youth Development
and Social Change. International Education & Research Journal.
(5), 322.