การสร้างสรรค์ของชาลี ปาร์คเกอร์: กรณีศึกษาบทเพลง Red Cross และบทเพลง Moose the Mooche
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเพลง Red Cross และบทเพลง Moose the Mooche ประพันธ์โดย ชาลี ปาร์คเกอร์ นักดนตรีคนสำคัญของดนตรีบีบ็อพการสร้างสรรค์แนวทำนองและการดำเนินคอร์ด ทั้งสองบทเพลงอยู่ในบริบทดนตรีบีบ็อพ อีกทั้งมีการคอนทราแฟคท์ มาจากบทเพลง I’ve Got Rhythm ประพันธ์โดย จอร์จเกิร์ชวิน ซึ่งมีการดำเนินคอร์ดประเภทริทึมเชนจ์ผลจากการศึกษาพบว่า การสร้างสรรค์ด้านแนวทำนองบทเพลง Red Crossมีการใช้แนวคิดการซ้ำโมทีฟ ซ้ำลักษณะจังหวะ และแนวทำนองมีการเคลื่อนที่แบบสมมาตร ส่วนบทเพลง Moose the Mooche มีการใช้โน้ตครึ่งเสียง ผ่านไปยังโน้ต
เป้าหมาย และล้อมรอบโน้ตเป้าหมาย ผสมผสานด้วยลักษณะจังหวะขัด ด้านการดำเนินคอร์ด ท่อน A บทเพลง Red Cross มีการเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อย และการดำเนินคอร์ดท่อน B บทเพลง Moose the Mooche ได้แทรกมิติการดำเนินคอร์ด ii-V เข้าไปผสมผสานกับการเคลื่อนที่วงจรคู่ห้าการสร้างสรรค์ของ ชาร์ลี ปาร์คเกอร์ ในบทเพลง Red Cross และบทเพลง Moose the Mooche แสดงให้เห็นถึงประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ ประเด็นด้านคอนทราแฟคท์ ประเด็นด้านแนวทำนอง และประเด็นด้านการดำเนินคอร์ด ประเด็นการสร้างสรรค์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อ ชาร์ลี ปาร์คเกอร์ และส่งอิทธิพลถึงดนตรีบีบ็อพ
ด้วยเช่นกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552 ). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางค์ศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
Coker. J.(1991). Elements of the Jazz Language for the Developing.
Van Nuys, CA: Alfred Publishing.
Levine. M. (1995). The Jazz Theory Book. Petaluma, CA: Sher Music.
Martin. H. (2001). Charlie Parker and Thematic Improvisation. Lanham,
MD: Scarecrow Press, Inc.
Dariusz. T. (2018). Jazz Theory From Basic to Advanced Study. New
York, NY: Routledge.