ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีโดยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) ผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และ (2) บุคลากรที่ปฏิบัติงานตามนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพในเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ และใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้แก่ (1) ด้านการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย (2) ด้านลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ (3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และ (4) ด้านการติดตามและการประเมินผล ตามลำดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการคือ (1) ระบบการติดตามและการประเมินผลไม่มีประสิทธิภาพ และ
(2) พื้นที่ความรับผิดชอบที่กว้างขวางเกินไปส่งผลให้การบริการไม่ทั่วถึง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้จึงควรเพิ่มการกระจายงบประมาณลงในแต่ละพื้นที่ความรับผิดชอบโดยเน้นการติดตามและประเมินผลรวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งจะนำมาสู่การมีส่วนร่วม และเกิดประสิทธิผลในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มากยิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
จริยา วงศ์กำแหง. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุน
หมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี. ปริญญาโทศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา, ศึกษศาสตร์
เพื่อพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จำรัส ประสิว. (2552). กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น : การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
กรณีศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชญานี ประกอบชาติ. (2559). การนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติของ
โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการและเสนอผล
งานวิจัย ระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความ
รู้สู่ความยั่งยืน. 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา.
ชูศักดิ์ ธนทรัพย์สิริกุล. (2554). การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.
ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงาน
การประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. เทศบาลนคร
สุราษฎร์ธานี อำเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี, กองวิชาการและแผนงาน. (2560). แผนพัฒนา 3 ปี 2560 –
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
ประเวศ วะสี. (2551). สุขภาวะที่สมบูรณ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
รัฐกร กลิ่นอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหาร ส่วนตำบลในภาคกลาง.
ปริญญานิพนธ์ รป.ม. (นโยบายสาธารณะ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณา ทองกาวแก้ว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดยะลา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
บุคลานุกรม
ภูวิค์ นุรักษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) ศุภณัฐ แช่มศรีรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). ณ สำนักงาน
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2561.
สุวรรณี ศรีวุฒินพกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์) ศุภณัฐ แช่มศรีรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์).
ณ สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2561.
อรรจกรณ์ สมเกียรติกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์) ศุภณัฐ แช่มศรีรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์).
ณ สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2561.
ถิรวัฒน์ สุวรรณบุตร (ผู้ให้สัมภาษณ์) ศุภณัฐ แช่มศรีรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์).
ณ สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2561.