การบริหารการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง เพื่อศึกษาการวางแผนงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง และเพื่อศึกษาการจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง ผลการวิจัยการกำหนดนโยบายพบว่า ด้านนโยบายงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยองมีการจัดทำงบประมาณแบบสมดุล ด้านนโยบายกระจายอำนาจการเงินการคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกระจายอำนาจและหน้าที่จากส่วนกลางเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การวางแผนงบประมาณพบว่า ด้านการจัดเก็บภาษี มีการจัดเก็บภาษีหลัก ๆ ได้แก่ (1) ภาษีบำรุงท้องที่ (2) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และ (3) ภาษีป้าย ด้านหนี้สาธารณะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาลเท่านั้นที่จะสามารถก่อหนี้สาธารณะได้ สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถดำเนินการได้ ด้านเงินคงคลัง กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีเงินคงคลังที่เรียกว่า เงินสะสมและเงินทุนสำรองสะสม การจัดการงบประมาณพบว่า ด้านการจัดหารายได้ ส่วนใหญ่รายได้มาจากการจัดเก็บภาษีเอง ด้านการกำหนดรายจ่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องนำโครงการ และครุภัณฑ์ต่าง ๆ ไปจัดทำเป็นข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จากผลการวิจัยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดทำช่องทางให้บริการทางโทรศัพท์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรับผิดชอบในการเสียภาษี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
Charat Suwanmala. (2002). Local Financial and fiscal Administration. Nonthaburi: Prapokklao Institute. (In Thai)
Department of Local Administration. (2017). Information about Local Finance. Retrieved June 24, 2017, from http://www.dla.go.th /work/money/index.jsp. (In Thai)
Department of Local Administration, Rayong Province. (2017). 5 Years Statistical Review of the Revenue from Local Administrative
Organization Centers in Rayong. [Data file]. (In Thai)
Derek Pattamasiriwat. (2010). Local Finance: The Collection of Research for Local Reinforcement. (4th ed.). Bangkok: P.A. Living. (In Thai)
Jira Prateep. (2003). Public Finance and Budgeting 1-7 items. Nonthaburi: Sukhothai thammathirat University publisher. (In Thai)
Kerkkiat Piphatseritham. (2009). Finance on Allocation and Distribution Basis. (9th ed.). Bangkok: Thammasat University. (In Thai)
Manit Phewkao. (2015). Local Finance Policies in the Future. Retrieved June 25, 2015, from http://www2.nkc.kku.ac.th /manit.p/
document/962322/962322_ch10_local_finance_ disclipline.doc. (In Thai)
Ponchai Likhitthammarot. (2007). Public Finance and Local Finance. Bangkok: Odian Store. (In Thai)
Prathan Kongritsuksakorn. (1992). Local Government. Bangkok: Bunditpatanasuksasart institute. (In Thai)
Rondinelli, Dennis A. (1981). Government Decentralization in Comparative Perspective: Theory and Practice in Developing Countries.
International Review of Administrative Science. 47(2): 133-45.
Sakon Wanyuwatthana. (2008). Fiscal Managements of Local Administrative Organization Centers. Bangkok: Expernet. (In Thai)
Tiebout, Charles M. (1956). A Pure Theory of Local Expenditures. The Journal of Political Economy. 64(5): 416-424.
Walaipon Shinnasri. (2013). Finance and Budget Administration. Pathum Thani: Learning Center for Digital Printing Business’ Production and Management. (In Thai)