อริยสัจแห่งวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
มนุษย์เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำในการทำสิ่งที่ดีที่สุดตามที่มนุษย์ สัตว์ พืช สรรพสิ่งและสรรพสารปรารถนาร่วมกัน คือ เป็นผู้นำในการสร้าง “ประโยชน์สุข” ที่หมายถึง มนุษย์เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำในการทำสิ่งที่ดีที่สุดตามที่มนุษย์ สัตว์ พืช สรรพสิ่งและสรรพสารปรารถนาร่วมกัน คือ เป็นผู้นำในการสร้าง “ประโยชน์สุข” ที่หมายถึง การอยู่รอดอย่างสันติสุขด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพของปัจเจกทั้งหมดทั้งมวล กระบวนการที่มนุษย์กระทำเพื่อให้เกิดซึ่งประโยชน์สุขนั้น เรียกว่า การศึกษาเรียนรู้ การฝึก การหัด และการพัฒนา ที่ดำเนินไปอย่างบูรณาการและพึ่งพิงสัมพันธ์จนเกิดองค์รวมของความสัมพันธ์ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเมตตาไมตรี ทำนุบำรุงกันและกันให้เจริญ ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ พืช สรรพสิ่ง สรรพสารที่เป็นธรรมชาติกายภาพ และระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติหรือธรรมชาติส่วนที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ วัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม ในชั้นต้นเป็นเรื่องของปัจเจกชนที่มีปัญญารู้แจ้งถึงความจริงในกฎของธรรมชาติที่ว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน แยกจากกันมิได้ มนุษย์ไม่สามารถอยู่ฅนเดียวหรือพวกเดียวได้ ต้องอยู่ร่วมกับมนุษย์ผู้อื่น สัตว์อื่น และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมายที่ต่างก็ปรารถนาใน ประโยชน์สุข ด้วยกันทั้งสิ้น วัฒนธรรม หมายถึง องค์รวมของความสัมพันธ์ที่อยู่ในสภาวะสมดุล มีเมตตาไมตรี เอื้อเฟื้อเกื้อกูล ทำนุบำรุงกันและกันให้เจริญอย่างพึ่งพิงสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติกายภาพที่มนุษย์อาศัยอยู่ร่วม และมนุษย์กับธรรมชาติส่วนที่มีอำนาจเหนือมนุษย์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
วัฒนธรรม ชุมชน สังคม และชาติพันธุ์ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ให้ความสำคัญในเรื่องของความเป็นส่วนรวม (common) มากกว่าความเป็นส่วนตน (private) มีความมุ่งหมายขั้นสูงในเรื่องการสร้างประโยชน์สุข (absolute happiness) ที่ได้จากการปฏิบัติภาวนาโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยวัตถุมากกว่าความสุข (happiness) ที่เกิดจากการเสพบริโภควัตถุ ที่เป็นเพียงเป้าหมายขั้นต่ำ มนุษย์ทุกฅนมีศักยภาพในการมีส่วนร่วมกระทำให้บรรลุเป้าหมายแห่งประโยชน์สุขได้ วัฒนธรรม ชุมชน สังคม ชาติพันธุ์ ล้วนเป็นเรื่องของส่วนรวม : common เป็นเรื่องของ เรา หลาย พหุชน มหาชน ที่เกิดจากสัมพันธภาพเชิงสร้างสรรค์ระหว่าง ฉัน กู และปัจเจกชน ทั้งหมดทั้งมวลจำนวนมาก วิธีปฏิบัติที่จะสร้างสรรค์ให้เกิด ส่วนรวม ได้ คือ การมีส่วนร่วม : participation วิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วม และสร้างสรรค์ให้เกิด ส่วนรวม ได้ ก็ต้องลด ตนเอง กู : selfness และ ส่วนตน ของกู : selfishness ลงให้เหลือน้อยที่สุดในขั้นต่ำ และทำไม่ให้เหลือตน (กู) อยู่เลย ไม่มีของตน (ของกู) อยู่เลยในขั้นสูง วิธีทำให้เหลือ ตนเอง กู น้อยที่สุด หรือ ไม่เหลือตนเองอยู่เลย ทำได้โดยการ ให้ และ การยอมรับในการมีอยู่ ของฅนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นในฐานะที่เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายอย่างเป็นกัลยาณมิตร หัวใจของการมีส่วนร่วมที่แท้จริง คือ การมีตัวกู มีของกูให้น้อยที่สุดหรือไม่ต้องมีทั้งสองสิ่งนั้นอยู่เลยแม้แต่น้อย ซึ่งอาจจะทำได้ยาก แต่ทำได้แล้วจะรู้ว่า “ดี” อย่างหาที่เปรียบไม่ได้ การพัฒนาวัฒนธรรม ชุมชน สังคม ภูมิสังคม และชาติพันธุ์ที่แท้จริง ต้องเป็นการทำความเจริญที่ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ และความเจริญที่ถูกต้องก็คือการทำลายความเห็นแก่ตัวให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
Article Details
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร