การวิเคราะห์ตำรายาพื้นบ้านจากหนังสือบุด ของวัดแหลมทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ตำรายาพื้นบ้านจากหนังสือบุดของวัดแหลมทอง จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาทางภาษาที่ปรากฏในตำรายาพื้นบ้าน และ 2. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าด้านคติความเชื่อและพิธีกรรมที่ปรากฏในตำรายาพื้นบ้าน
ผลการวิจัยพบว่า ด้านภูมิปัญญาการใช้อักษรและอักขรวิธีของต้นฉบับตำรายาพื้นบ้านทั้ง 9 เล่มนี้ บันทึกด้วยหนังสือบุดขาว ด้านภูมิปัญญาการใช้กลวิธีในการบันทึก พบว่า ผู้บันทึกได้แสดงกลวิธีการบันทึกตำรายาพื้นบ้านให้มีความสัมพันธ์กับองค์ความรู้ของหมอยาพื้นบ้าน คือ การใช้คำขึ้นต้นสูตรยา การใช้คำลงท้ายสูตรยา และการกล่าวถึงที่มาของตำรับยา ส่วนภูมิปัญญาด้านศิลปะการใช้ภาษา ผู้บันทึกได้เลือกสรรถ้อยคำมาใช้ในตำรายาพื้นบ้านได้อย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่ใช้คำภาษาไทยที่มีใช้ทั้งในภาคกลางและภาคใต้และใช้คำที่เป็นภาษาถิ่นใต้โดยเฉพาะ นอกจากนั้นผู้แต่งยังได้นำคำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตที่แสดงความศักดิ์สิทธิ์ของตำรับยาพื้นบ้านและพิธีกรรมที่ใช้รักษาโรคด้วย
ด้านคติความเชื่อ พบว่า ตำรายาพื้นบ้านสะท้อนให้เห็นคติความเชื่อด้านพระพุทธศาสนา ได้แก่ เรื่องนรก เรื่องพระกัสสปพุทธเจ้า เรื่องพระรัตนตรัย และคติความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องผี และเรื่องไสยศาสตร์ ส่วนด้านพิธีกรรมได้กล่าวถึงพิธีกรรมการไหว้บูชาครูหมอยา และพิธีกรรมการตั้งเครื่องบัตรพลี เพื่อเซ่นสังเวยแม่ซื้อและภูตผีวิญญาณ
ตำรายาพื้นบ้านจากหนังสือบุดของวัดแหลมทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาการรักษาโรคที่สืบทอดจากอดีตมายาวนาน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการจรรโลงวัฒนธรรมท้องถิ่น จรรโลงสถาบันสังคมและควบคุมรูปแบบทางสังคมในยุคเก่าให้อยู่รอด ด้วยความศรัทธาของผู้คนที่ทีต่อตำรายาพื้นบ้าน
คำสำคัญ : ตำรายาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาด้านภาษา คติความเชื่อ พิธีกรรม
Article Details
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
Ministry of Education. (1999). Medical care : medical wisdom and literary heritage. Bangkok : Teacher's council publishing Ladpraw.
คุณช่วย ปิยวิทย์. (2532). "ภาษาและคติความเชื่อในตำรายาพื้นบ้านจากวัดบึง
ตำบลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา." ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
Kunchuay Piyawit. (1989). "Language and beliefs in folk medicine texts from
Bueng temple at Chokchai District, Nakhonratchasima Province."
Master of Arts Department of Thai, Srinakharinwirot University
Mahasarakham.
ชวน เพชรแก้ว. (2528). "ลักษณะวรรณกรรมของนครศรีธรรมราช." ใน รายงานการ สัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 3 ประวัติศาสตร์ นครศรีธรรมราชจากภาษาและวรรณกรรม, 85-98. นครศรีธรรมราช : วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.
Chuan Phetkaew. (1985). "Literature of Nakhonsithammarat." In The 3rd Nakhonsithammarat History Seminar. Nakhonsithammarat : Language and Literature, 85-98. Nakhonsithammarat :
Nakhonsithammarat Teachers College.
ชวน เพชรแก้ว. (2546). รายงานวิจัยเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้ในการบำบัดโรค : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง. สุราษฎร์ธานี :
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Chuan Phetkaew. (2003). Research Report Southern Thai Wisdom in Therapy : A Case Study of Surat Thani, Chumphon and Ranong. Suratthani:
Suratthani Rajabhat University.
ธวัช ปุณโณทก. (2543). วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Thawat Punnothok. (2000). Comparative Literature Analysis. 2nd edition. Bangkok : Ramkhamhaeng University Press.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2533). "วรรณกรรมลายลักษณ์ภาคใต้." ใน การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการอ่านทำนองร้อยกรองสี่ภาค, 17-20. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Praphon Ruangnarong. (1990). "Southern Writers Literature."
In The Symposium on reading and writing poetry. Nakhonpathom : Silpakorn University.
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2527). "วรรณคดีอายุรกรรมพื้นบ้านไทยทรงดำ บางระกำ พิษณุโลก : การศึกษาวิเคราะห์เชิงหน้าที่นิยมและแบบแผนทางฉันทลักษณ์." ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
Premwit Wiwatthanaset. (1984). "Literature of folk medicine of the Thai Song Dum people at Bangragum District, Phitsanulok Province." Master of Arts Department of Thai, Srinakharinwirot University Phitsanulok.
วิชัย โชควิวัฒน์. (2550). พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผน ไทย พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์ จำกัด
Wichai Chokwiwat. (2007). The Thai Herbal Medicine Preservation and Promotion Act, 1999. Bangkok : Superior Printing House Limited.
สาคร เลื่อนสาคร. (2526). "ศึกษาศัพท์สำนวนภาษาในตำรายาแผนโบราณ." สารนิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Sakorn Luensakorn. (1983). "Study of language vocabulary in traditional medicine texts". Bachelor of Arts Department of Thai, Silpakorn University.
สุดารัตน์ ตัณฑะอาริยะ. (2548). "วิเคราะห์ตำรายาแผนโบราณจากสมุดไทยของจังหวัดพังงา." วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Sudarat Tanta-ariya. (2005). An analysis of treditional thai formulars of herbal medicines recorded in Pang'nga menuscripts. Thesis Master of Arts Department of Thai, Graduate School Silpakorn University.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2521). โลกทรรศน์ชาวไทยภาคใต้. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
SuthiwongxPhongphaibul. (1978). The vision of Southern people. Songkhla : Thaksin Institute of Education, Srinakharinwirot University Songkhla
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547). "วัฒนธรรมการใช้สัญลักษณ์ในวรรณกรรมทักษิณ" ใน วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมปริทัศน์, 173 - 184. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
SuthiwongxPhongphaibul. (2004). "The symbolism in Thaksin literature." In Thaksin literature : Literature Review, 173 - 184. Bangkok :
The Thailand Research Fund.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547). "อัตลักษณ์และพลวัตวรรณกรรมกลุ่มการแพทย์และสุขอนามัย" ใน วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมปริทัศน์, 459 - 472. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
SuthiwongxPhongphaibul. (2004). "Identification and dynamics of literature, medical and hygienic." In Thaksin literature : Literature Review, 459 - 472. Bangkok : The Thailand Research Fund.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และชวน เพชรแก้ว. (2547). วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมพินิจ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
xSuthiwongxPhongphaibulxandxChuan Phetkaew. (2004). Thaksin Literature : Observation Literature. Bangkok : Amarin Printing & Publishing Co., Ltd.
อุดม หนูทอง. (2522). วรรณกรรมท้องถิ่นใต้ประเภทนิทานประโลมโลก. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
Udom Noothong. (1979). Literature in the Southern Romance. Songkhla : Srinakharinwirot University Songkhla.
เอมอร ตรีชั้น. (2528). "การศึกษาด้านภาษาและคติความเชื่อในตำรายาแผนโบราณจากสมุดไทย ของจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร." ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
Amorn Treechan. (1985). "Study of language and beliefs in traditional Thai textbooks. Of Suphanburi, Nakhonpathom and Samutsakhon." Master thesis Department of Thai, Srinakharinwirot University.
บุคลานุกรม
ชวน เพชรแก้ว (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐา วิพลชัย (ผู้สัมภาษณ์.) ณ บ้านเลขที่ 394 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2558.
Chuan Phetkaew (Interviewer) Nattha Wipolchai (Interviews). at 394, Moo 2, Tambon Thathong, Kanchanadit District, Suratthani Province.
on June 20, 2015.
พระอธิการพิพัฒน์ สิริจันโท. (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐา วิพลชัย (ผู้สัมภาษณ์). ณ วัดแหลมทอง ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2558.
Phra-athiganphiphat Sirijantho (Interviewer) Nattha Wipolchai (Interviews).
at Lamthong Temple, Tambon Khlongchanak, Mueng District, Suratthani Province. on July 27, 2015.
สุธรรม โสภณ. (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐา วิพลชัย (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 30 หมู่ 3 ตำบล คลองฉนาก อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2559.
Sutham Sophon (Interviewer) Nattha Wipolchai (Interviews). at 30, Moo 3, Tambon Khlongchanak, Mueng District, Suratthani Province.
on June 4, 2016.