การลดความล่าช้าในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จ กรณีศึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง CPAC จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ช่องผม นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • กุลณัฐ ทิพย์ขุนทด นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ความล่าช้า, รถคอนกรีตผสมเสร็จ, โรงคอนกรีตผสมเสร็จ, อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์, ทฤษฎี ECRS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุที่ทำให้การขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จเกิดความล่าช้า และเพื่อลดความล่าช้าในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จบริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง CPAC จังหวัดสมุทรสาคร โดยประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยหัวหน้าคุมพนักงานขับรถและพนักงานฝ่ายศูนย์กระจายสินค้า จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามในการสัมภาษณ์ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จและการปรับปรุงลดความล่าช้าในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จด้วยทฤษฎี ECRS

            ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จของบริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง CPAC จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากการปรับปรุงโดยใช้แบบสอบถามเดียวกันพบว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จ โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 2.80 และ 0.760 ตามลำดับ การปรับปรุงกระบวนการลดความล่าช้าในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จด้วยหลักการ ECRS หลังจากการปรับปรุงพบว่า ประสิทธิภาพความสามารถในด้านการส่งมอบสินค้าหรือสภาพยานพาหนะมีประสิทธิภาพอยู่ที่ร้อยละ 89.77 ด้านความแม่นยำของใบสั่งงานอยู่ที่ร้อยละ 0.84 ด้านความเสียหายของสินค้าอยู่ที่ร้อยละ 5.85 ด้านการขนส่งสินค้าไม่ตรงเวลาอยู่ที่ร้อยละ 7.80

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26

How to Cite

ช่องผม อ., & ทิพย์ขุนทด ก. (2019). การลดความล่าช้าในการขนส่งของรถคอนกรีตผสมเสร็จ กรณีศึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง CPAC จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 1(2), 16–35. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/232153