การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความผูกพันต่อชุมชนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นันทพร รัตตานนท์ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยทองสุข
  • วาสนา คงสกุลทรัพย์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารงานการคลัง เทศบาลนครนครปฐม

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, ชุมชน, กรุงเทพมหานคร, CFA

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความผูกพัน ต่อชุมชนของประชาชน
ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความผูกพันต่อชุมชนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบ
ความผูกพันของประชาชนที่มีต่อชุมชน ได้แก่ ด้านองค์กรชุมชน (COO) ด้านผู้นำองค์กรชุมชน (COL) ด้านเจ้าหน้าที่
และบุคลากรภาครัฐ (PER) และสมาชิกในชุมชน (MEC) มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 และผลการทดสอบสมมติฐานได้วิเคราะห์และตรวจสอบความกลมกลืนขององค์ประกอบ พบว่า มีความสอดคล้อง
กลมกลืนกับข้อมูลประจักษ์ โดยมีค่า X2 = 0.51; p–Value = 0.47; df = 1; RMSEA = 0.000 แสดงว่า องค์ประกอบ
ทั้ง 4 ด้าน เป็นองค์ประกอบเชิงยืนยันความผูกพันของประชาชนที่มีต่อชุมชนในกรุงเทพมหานคร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25

How to Cite

รัตตานนท์ น., & คงสกุลทรัพย์ ว. (2019). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความผูกพันต่อชุมชนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 1(1), 38–50. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/197542