ความพึงพอใจในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงกลยุทธ์ทางการตลาด 7Ps สู่การตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • วงศพัทธ์ คลังทรัพย์ นักศึกษาหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • สุมาลี รามนัฏ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps, ความพึงพอใจ, การตัดสินใจเลือกใช้บริการ, ไปรษณีย์ไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ความพึงพอใจ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร 2) ศึกษาความพึงพอใจในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7Ps สู่การตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ความพึงพอใจ ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลกับผู้ใช้บริการที่ใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร จำนวน 200 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาด ความพึงพอใจ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.97, 3.88 และ 3.80 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.722, 0.701 และ 0.689 ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7Ps สู่การตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร โดยเรียงค่าตามอิทธิพลรวมประกอบไปด้วย ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และความพึงพอใจ (CS) มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ (DM) มีค่าเท่ากับ 0.717 และ 0.176 ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจ (CS) มีค่าเท่ากับ 0.846 และความพึงพอใจ (CS) เป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ (DM) มีค่าเท่ากับ 0.148 3) ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถนำผลของระดับส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจของงานวิจัยนี้ ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการในอนาคต

References

จิดาภา หอจตุรพิธพร. (2562). กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการเนอสซิ่งโฮมของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตระวี ทองเถา. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 105-114.

จิรายุฒ เสมา. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งพัสดุด่วนภายในประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ชุติมา บัวลอย, มุขรินตร์ ณ สงขลา, และ ทุติยา ใจเปี่ยม. (2563, 17 กรกฎาคม). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่ทางการไปรษณีย์ท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, สงขลา, ประเทศไทย.

ดาวเดือน อินเตชะ และ ชลธิชา รอดหิรัญ. (2565). แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง. อินทนิลทักษิณสาร, 2(17), 59-78.

ธันยธร ติณภพ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพการให้บริการกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งเอกชนของผู้ขายสินค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 1(24), 85-96.

นิติพล ภูตะโชติ. (2561). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 27(12), 86-96.

เบญจภรณ์ สงวนชีพ. (2560). การรับรู้ของผู้ใช้บริการต่อระบบขนส่งสาธารณะของท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าของร้านอาหารวอเตอร์ไซด์รีสอร์ท. การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

หลังขาดทุนหนักมา 2 ปี ครึ่งปีนี้ ‘ไปรษณีย์ไทย’ กำไร 158 ล้าน เดินหน้ายืนหยัดคุณภาพหนีสงครามราคา. (2566, 06 กันยายน). https://workpointtoday.com/140-years-thailand-post.

หัสยา อินทคง. (2560). คุณภาพบริการ คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ราคาและคุณลักษณะของร้านค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และความภักดีต่อร้านค้าปลีกสินค้าออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Best, John W. (1981). Research in Education Englewood cliffs. New Jersey: Prentice. Hall Inc.

Gronroos, Christian. (1990). Service Management and Marketing. Massachusetts Lexington Book.

Hair, E., Halle, T., Terry-Humen, E., Lavelle, B., & Calkins, J. (2006). Children's school readiness in the ECLS-K: Predictions to academic, health, and social outcomes in first grade. Early Childhood Research Quarterly, 21(4), 431-454.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis. Hampshire, Cengage Learning EMEA.

Kotler et al. (2016). Marketing Management. Shanghai: Shanghai People’s Publishing House.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Preacher, K. J., & Hayes, A. F. (2008). Asymptotic and Resampling Strategies for Assessing and Comparing Indirect Effects in Multiple Mediator Models. Behavior Research Methods, 40 (3), 879–891.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

คลังทรัพย์ ว. . ., & รามนัฏ ส. . (2023). ความพึงพอใจในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงกลยุทธ์ทางการตลาด 7Ps สู่การตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ไทยสมุทรสาคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 5(2), 129–141. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/272275