แนวทางการพัฒนาการยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของกลุ่มผู้ปลูกพริกพราน ในชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ดรุณี ทิพย์ปลูก
ดารัณ พราหมณ์แก้ว
เสาวลักษณ์ วิบูรณ์กาล
วรรณีศา สีฟ้า
สมบัติ ไวยรัช
กมลทิพย์ รักเกียรติยศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ (SWOT Analysis) ส่วนประสมทางการตลาดของพริกพราน  ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากพริกพรานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์จากบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) จำนวน 20 คน  ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกพริกพราน ผู้นำชุมชน ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) จากการวิเคราะห์ (SWOT Analysis) ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือมีจุดแข็ง คือ มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์คือพริกพราน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีต้นทุนในการผลิตต่ำ สำหรับจุดอ่อนพบว่าผลิตภัณฑ์ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ยังไม่มีการกำหนดราคาสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่เป็นมาตรฐาน ผู้บริโภคไม่ทราบแหล่งซื้อและไม่สามารถจัดหามาได้ ความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมานั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ และไม่มีงบประมาณในการโฆษณา ในส่วนของโอกาสนั้นจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน สำหรับอุปสรรคที่พบคือ ยังไม่สามารถสื่อสารไปยังตลาดเป้าหมายเพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด 2) แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือการแปรรูปพริกพรานเป็นผลิตภัณฑ์ทางสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ได้จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำมันนวด และลูกประคบ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การกำหนดราคา และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พริกพราน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัลศรี โนมี, วรีวรรณ เจริญรูป, จิตรานุช ชัยนันท์. (2562). การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตระกร้าหวายบ้านทาทรายมูล ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยลัยเทคโนโลยีราชมงคล, 3(2), 17-24.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การบริหารการตลาด. ซีเฮ็ดยูเคชั่น.

พนิดา รัตนสุภา, อรอุมา สำลี, เสาวลักษณ์ บุญรอด, และวัลลภา พัฒนา. (2563). การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนและรองรับการส่งออก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

พงษ์ศักดิ์ เห็นตระกูลดี. (2556). กระบวนการและเงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมะขามทอง ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพลินทิพย์ โกเมศโสภา. (2553). การวางแผนการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาโนชย์ นวลสระ และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานระดับสากล จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 119-134.

วรานันท์ บัวจีบ, วีณา จิรัจฉริยากูล, วรางคณา ชิดช่วงชัย. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรไทยทางทันตกรรม: ยาสีฟันพริกพรานและน้ำยาบ้วนปากพริกพรานสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. BU Acadamic Review, 19(1), 109-127.

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ Marketing Principle for Entrepreneurship. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2543). หลักการตลาด. ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2555). มะแข่น. http://www.m-culture.in.th/album/128499.

อภิวัฒน์ วังวิวัฒน์. (2566). การตลาดเพื่อชุมชน Marketing for Community (พิมพ์ครั้งที่ 1). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

อัจจิมา ศุภจริยาวัตร. (2565). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการส่งออก กรณีศึกษา กลุ่มผ้าไหมทอมือบ้านสุขสำราญ จังหวัดสระแก้ว. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(1), 429-444.

Hermawan, E. (2021). Sustainability of Local Products : Interest to Buy , Product Quality and Promotion. Dinasti International Journal of Economics, Finance and Accounting, 2(3), 336–345.

Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed). Prentice-Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14th ed). Prentice-Hall.

McCarthy, E. J., & Perreault, W. D., Jr. (1987). Basic Marketing (9th ed). Richard D. Irwin, Homewood, IL.